|
กระทรวง : กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ประกาศใช้เมื่อ :17/06/2568
|
สาระสำคัญ |
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 24) เพื่อให้การปฏิบัติงานและการดำเนินงานด้านการสืบสวนสอบสวน ตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ และสัมฤทธิ์ผลในทางปฏิบัติ/--อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบกับประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับคุณสมบัติของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติว่าด้วย การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม จึงประกาศแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม |
|
|
|
|
กระทรวง : สำนักนายกรัฐมนตรี ประกาศใช้เมื่อ :26/06/2568
|
สาระสำคัญ |
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดเวลาห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2558 เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน /--อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 วรรคหนึ่ง และมาตรา 28 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติ ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 นายกรัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการนโยบาย เครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ /--ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป /--ข้อ 2 ให้ยกเลิกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดเวลาห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2558 ลงวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2558 /--ข้อ 3 ห้ามผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเวลาอื่น นอกจากตั้งแต่เวลา 11.00 นาฬิกา ถึงเวลา 14.00 นาฬิกา และตั้งแต่เวลา 17.00 นาฬิกา ถึงเวลา 24.00 นาฬิกา ยกเว้นการขาย ในกรณี ดังต่อไปนี้ --(1) การขายในอาคารที่ให้บริการแก่ผู้โดยสารภายในสนามบินที่ให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศ ; (2) การขายในสถานบริการซึ่งเป็นไปตามกำหนดเวลาเปิดปิดของสถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ ; (3) การขายในโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงอุตสาหกรรม ประกาศใช้เมื่อ :22/05/2568
|
สาระสำคัญ |
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการกำหนดความหมายของตะกรันจากการประกอบโลหกรรมให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น/--อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 อธิบดีกรมอุตสาหกรรม พื้นฐานและการเหมืองแร่ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้/--ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา/--ข้อ 3 ให้ยกเลิกประกาศกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เรื่อง ตะกรันจากการประกอบโลหกรรม พ.ศ. 2560 /--ข้อ 4 ตะกรันจากการประกอบโลหกรรม หมายถึง สารประกอบของแข็งที่เกิดจากการประกอบโลหกรรมโดยวิธีการถลุงแร่ดีบุกที่มีถิ่นกำเนิดในราชอาณาจักรหรือเขตไหล่ทวีปและมีองค์ประกอบของโลหะหรือสารประกอบอื่นเจือปนอยู่ในปริมาณ ดังต่อไปนี้--(1) โคลัมเบียมเพนตอกไซด์ (Cb2O5) หรือไนโอเบียมเพนตอกไซด์ (Nb2O5) ม่ว่าจะปริมาณเท่าใด; (2) ต้นตาลัมเพนตอกไซด์หรือแทนทาลัมเพนตอกไซด์ (Ta2O5) ไม่ว่าจะปริมาณเท่าใด ; (3) ทังสเตนไตรออกไซด์ (WO3) ไม่ว่าจะปริมาณเท่าใด |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงพาณิชย์ ประกาศใช้เมื่อ :23/06/2568
|
สาระสำคัญ |
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้ยางรถที่ใช้แล้วเป็นสินค้าที่ต้องห้ามหรือต้องขออนุญาตและต้องปฏิบัติตามมาตรการจัดระเบียบในการนําเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2556 ลงวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2556 /--อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง (1) (2) (3) (6) และวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนําเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ โดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ /--ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง ให้ยางรถใช้แล้วเป็นสินค้า ที่ต้องห้ามหรือต้องขออนุญาตและต้องปฏิบัติตามมาตรการจัดระเบียบในการนําเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2568 /--ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป /--ข้อ 3 ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้ยางรถที่ใช้แล้วเป็นสินค้าที่ต้องห้ามหรือต้องขออนุญาตและต้องปฏิบัติตามมาตรการจัดระเบียบในการนําเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2556 ลงวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2556 /--ข้อ 4 ในประกาศนี้ ยางรถใช้แล้ว หมายความว่า ยางรถที่ใช้งานแล้วหรือยางรถที่หล่อดอกใหม่ และให้หมายความ รวมถึง เศษ เศษตัด และของที่ใช้ไม่ได้ที่เป็นยางรถ ตามข้อ 5 และข้อ 5 /--ข้อ 5 ให้สินค้าดังต่อไปนี้ เป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนําเข้ามาในราชอาณาจักร --(1) ยางรถที่หล่อดอกใหม่หรือยางรถที่ใช้งานแล้วชนิดที่ใช้กับรถยนต์นั่ง รวมถึงสเตชันแวกอน และรถแข่ง ตามพิกัดอัตราศุลกากร ประเภทย่อย 4012.11.00 และ 4012.20.10 ; (2) ยางรถที่หล่อดอกใหม่หรือยางรถที่ใช้งานแล้วชนิดที่ใช้กับรถจักรยานยนต์ ตามพิกัดอัตราศุลกากร ประเภทย่อย 4012.19.49 และ 4012.20.40 ; (3) ยางรถที่หล่อดอกใหม่หรือยางรถที่ใช้งานแล้วชนิดที่ใช้กับรถจักรยาน ตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทย่อย 4012.19.49 และ 4012.20.50 ; (4) เศษ เศษตัด และของที่ใช้ไม่ได้ ที่เป็นยางรถตาม (1) (2) และ (3) ตามพิกัดอัตราศุลกากร ประเภทย่อย 4004.00.0 /--ข้อ 6 ให้ยางรถที่ใช้งานแล้วชนิดที่ใช้กับรถบัสหรือรถบรรทุก ตามพิกัดอัตราศุลกากร ประเภทย่อย 4012.20.21 และ 4012.20.29 เป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาตในการนําเข้ามา ในราชอาณาจักรให้เศษ เศษตัด และของที่ใช้ไม่ได้ ที่เป็นยางรถชนิดตามวรรคหนึ่ง ทั้งที่หล่อดอกใหม่และ ที่ใช้งานแล้ว ตามพิกัดอัตราศุลกากร ประเภทย่อย 4004,00.00 เป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนําเข้ามา ในราชอาณาจักร /--ข้อ 7 การนํายางรถใช้แล้วเข้ามาในราชอาณาจักรตามข้อ 5 วรรคหนึ่ง ต้องเป็นการนําเข้ามาเพื่อการหล่อดอกแล้วส่งออกไปนอกราชอาณาจักรเท่านั้น /--ข้อ 8 ยางรถใช้แล้วที่นําเข้ามาในราชอาณาจักรตามข้อ 5 วรรคหนึ่ง และยางรถใช้แล้ว ที่หล่อดอกเสร็จแล้วเพื่อส่งออกไปนอกราชอาณาจักรตามข้อ 2 ให้แยกเก็บโดยไม่ปะปนกันและให้แยกเก็บโดยไม่ปะปนกับยางรถอื่นด้วย |
|
|
|
|
กระทรวง : การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ประกาศใช้เมื่อ :14/05/2568
|
สาระสำคัญ |
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เรื่อง การจัดตั้งเขตอุตสาหกรรมทั่วไป นิคมอุตสาหกรรมหลักชัยเมืองยาง จังหวัดระยอง ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ในท้องที่ตำบลสำนักทอง อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง เนื้อที่ประมาณ 2,210 ไร่ 0 งาน 27.10 ตารางวา โดยกำหนดให้เป็นเขตอุตสาหกรรมทั่วไป นั้น/--เนื่องจากผู้ร่วมดําเนินงานมีความประสงค์ที่จะขยายพื้นที่โครงการนิคมอุตสาหกรรม หลักชัยเมืองยาง จังหวัดระยอง ดังกล่าวข้างต้น พื้นที่ประมาณ 2,125 ไร่ 3 งาน 41.2 ตารางวา/-- อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 23 และมาตรา 36 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการนิคม อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2550 และข้อ 4 วรรคสอง ของกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม พ.ศ. 2548 ประกอบกับ มติคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในการประชุมครั้งที่ 2/2568 เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 จึงประกาศเปลี่ยนแปลงเขต นิคมอุตสาหกรรมหลักชัยเมืองยาง จังหวัดระยอง ให้เป็นเขตอุตสาหกรรมทั่วไป โดยยกเลิกแผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย เรื่อง การจัดตั้งเขตอุตสาหกรรมทั่วไป นิคมอุตสาหกรรมหลักชัยเมืองยาง จังหวัดระยอง ลงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ดังกล่าวข้างต้น และให้มีเขตตามแผนที่ท้ายประกาศนี้แทน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป |
|
|
|
|
กระทรวง : การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ประกาศใช้เมื่อ :26/06/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 36 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2550 และข้อ 4 วรรคสอง ของกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม พ.ศ. 2558 ประกอบกับมติคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย ในการประชุมครั้งที่ 4/2568 เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2568 จึงประกาศจัดตั้ง นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (โครงการ 7) โดยกำหนดเป็นเขตอุตสาหกรรมทั่วไป จำนวนเนื้อที่ประมาณ 1,059 ไร่ 0 งาน 91.1 ตารางวา ในท้องที่ตําบลเขาคันทรง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายประกาศนี้ |
|
|
|
|
กระทรวง : การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ประกาศใช้เมื่อ :26/06/2568
|
สาระสำคัญ |
"เนื่องจากเอกชนผู้ร่วมดำเนินงานกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยมีความประสงค์ ที่จะขยายพื้นที่โครงการนิคมอุตสาหกรรมสินสาคร เพิ่มเติมอีกประมาณ 177 ไร่ 3 งาน 5.2 ตารางวา โดยกำหนดให้เป็นเขตอุตสาหกรรมทั่วไป เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมและการประกอบอุตสาหกรรมต่อไป/--อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 36 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2550 และข้อ 4 วรรคสอง ของกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม พ.ศ. 2548 ประกอบกับมติคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย ในการประชุมครั้งที่ 2/2568 เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 จึงประกาศ เปลี่ยนแปลงเขตนิคมอุตสาหกรรมสินสาคร ให้เป็นเขตอุตสาหกรรมทั่วไป โดยยกเลิกแผนที่ ท้ายประกาศคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เรื่อง การเปลี่ยนแปลงเขต เขตอุตสาหกรรมทั่วไป นิคมอุตสาหกรรมสินสาคร (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2566 ดังกล่าวข้างต้น และให้มีเขตตามแผนที่ท้ายประกาศนี้แทน |
|
|
|
|
กระทรวง : การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ประกาศใช้เมื่อ :08/07/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 36 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2550 และข้อ 4 วรรคสอง ของกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม พ.ศ. 2558 ประกอบกับมติคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย ในการประชุมครั้งที่ 4/2568 เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2568 จึงประกาศจัดตั้ง นิคมอุตสาหกรรมอารยะ โดยกำหนดเป็นเขตอุตสาหกรรมทั่วไป จำนวนเนื้อที่ประมาณ 1,891 ไร่ 2 งาน 29.2 ตารางวา ในท้องที่ตำบลบางพลีน้อย ตำบลบ้านระกาศ อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายประกาศนี้ |
|
|
|
|
กระทรวง : การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ประกาศใช้เมื่อ :08/07/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 36 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2550 และข้อ 4 วรรคสอง ของกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม พ.ศ. 2558 ประกอบกับมติคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในการประชุมครั้งที่ 5/2568 เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2568 จึงประกาศจัดตั้ง นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (โครงการ 8) โดยกำหนดเป็นเขตอุตสาหกรรมทั่วไป จำนวนเนื้อที่ประมาณ 1,083 ไร่ 3 งาน 56.30 ตารางวา ในท้องที่ตำบลหนองขาม อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายประกาศนี้ |
|
|
|
|
กระทรวง : การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ประกาศใช้เมื่อ :08/07/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 36 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2550 และข้อ 4 วรรคสอง ของกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม พ.ศ. 2548 ประกอบกับมติคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย ในการประชุมครั้งที่ 4/2568 เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2568 จึงประกาศจัดตั้ง นิคมอุตสาหกรรมโรจนะหนองใหญ่ 2 โดยกำหนดเป็นเขตอุตสาหกรรมทั่วไป จำนวนเนื้อที่ประมาณ 1,302 ไร่ 3 งาน 46.6 ตารางวา ในท้องที่ตำบลหนองไผ่แก้ว ตำบลหนองอิรุณ อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายประกาศนี้ |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกาศใช้เมื่อ :01/07/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 วรรคหนึ่ง และมาตรา 22 วรรคหนึ่งและวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้/--ข้อ 2 ให้บริเวณหมู่เกาะพยาม ตำบลเกาะพยาม อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง ภายในแนวเขตตามแผนที่แนบท้ายประกาศ หมายเลข 1/3 หมายเลข 2/3 และหมายเลข 3/3 เป็นพื้นที่ที่ให้ใช้มาตรการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งประเภทหาด ปะการัง กัลปังหา แหล่งหญ้าทะเล สิ่งมีชีวิตในแนวปะการัง และสัตว์ทะเลหายาก ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ ให้จําแนกพื้นที่ที่ให้ใช้มาตรการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งตามข้อ 2 |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงพลังงาน ประกาศใช้เมื่อ :27/06/2568
|
สาระสำคัญ |
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดอัตราค่าบริการก๊าซธรรมชาติสำหรับผู้รับใบอนุญาตจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติ พ.ศ. 2564 เพื่อปรับปรุงสูตรการคํานวณราคาก๊าซธรรมชาติให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการ นโยบายพลังงานแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 3/2567 (ครั้งที่ 169) เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2517 และให้สอดคล้องกับโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติเพื่อรองรับการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ ระยะที่ 2 ตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 1/2566 (ครั้งที่ 164) เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 และครั้งที่ 3/2566 (ครั้งที่ 166) เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2566 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 (1) มาตรา 63 และมาตรา 65 แห่งพระราชบัญญัติ การประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 ประกอบกับมติคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานในการประชุมครั้งที่ 12/2568 (ครั้งที่ 954) เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2568 และครั้งที่ 16/2568 (ครั้งที่ 958) เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2568 คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ /---ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ การกำหนดอัตราค่าบริการก๊าซธรรมชาติสำหรับผู้รับใบอนุญาตจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2568 /--ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป/--ข้อ 3 ให้ยกเลิกเอกสารแนบท้ายประกาศคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดอัตราค่าบริการก๊าซธรรมชาติสำหรับผู้รับใบอนุญาตจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติ พ.ศ. 2564 และให้ใช้ความตามเอกสารแนบท้ายประกาศนี้แทน |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงการคลัง ประกาศใช้เมื่อ :03/07/2568
|
สาระสำคัญ |
เพื่อสนับสนุนการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบอุตสาหกรรมสุราขนาดเล็กและผู้ประกอบ อุตสาหกรรมสุราขนาดกลาง และเพื่อให้การบริหารการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสินค้าสุราภายใต้ ระบบใบอนุญาต การควบคุมและตรวจสอบการผลิตสุราของโรงอุตสาหกรรมสุราขนาดเล็กและโรงอุตสาหกรรมสุราขนาดกลางตามประกาศกรมสรรพสามิตว่าด้วยการผลิตสุราเพื่อการค้า และการนําสุรา ออกจากโรงอุตสาหกรรมเพื่อตรวจวิเคราะห์ในขั้นตอนการผลิต ซึ่งออกโดยอาศัยอํานาจตามความ ในมาตรา 153 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 เป็นไปโดยถูกต้อง รัดกุม มีประสิทธิภาพ และมีมาตรฐานเป็นไปในแนวทางเดียวกัน/ --อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 (2) (3) และ (4) มาตรา 120 มาตรา 121 และมาตรา 122 แห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 แก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกรมสรรพสามิต ว่าด้วยการควบคุมโรงอุตสาหกรรม สุราขนาดเล็กและโรงอุตสาหกรรมสุราขนาดกลาง พ.ศ. 2566 ลงวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2566 ดังต่อไปนี้ ความในข้อ 5, ความในข้อ 7, เพิ่มความเป็นข้อ 7/1, ความในข้อ 8, ความในข้อ 9, ความในข้อ 10 และความในข้อ 12 |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ประกาศใช้เมื่อ :19/06/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7/1 วรรคสอง แห่งพระราชกำหนดมาตรการป้องกัน และปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนด มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2568 รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ออกประกาศกำหนดขั้นตอนดำเนินการให้พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับการแต่งตั้ง ตามกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มีคําสั่งระงับการทำให้แพร่หลายของข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือนําข้อมูลคอมพิวเตอร์ทที่ผิดกฎหมายออกจากระบบคอมพิวเตอร์เมื่อความปรากฏว่ามีผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล |
|
|
|
|
กระทรวง : คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ประกาศใช้เมื่อ :30/05/2568
|
สาระสำคัญ |
อนุสนธิประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ 9/2565 ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2565 เรื่อง มาตรการส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศเพื่อส่งเสริมการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขของประเทศให้มีประสิทธิภาพ ยกระดับ มาตรฐานการให้บริการทางการแพทย์ของประเทศสู่ระดับสากลโดยภาคเอกชน และลดภาระการลงทุน ด้านสาธารณสุขของภาครัฐ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริม การลงทุน พ.ศ. 2520 และที่แก้ไขเพิ่มเติม คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนจึงออกประกาศ ให้แก้ไขเพิ่มเติมเงื่อนไข สิทธิและประโยชน์ในประเภท 2.2.1.4 กิจการโรงพยาบาล ของบัญชีท้ายประกาศคณะกรรมการ ส่งเสริมการลงทุน ที่ 9/2565 ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2565 |
|
|
|
|
กระทรวง : คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ประกาศใช้เมื่อ :30/06/2568
|
สาระสำคัญ |
อนุสนธิประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ 9/2565 ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2565 เรื่อง มาตรการส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบกิจการในอุตสาหกรรมวัสดุให้มีการลงทุนเพื่อเตรียมความพร้อมรับ การเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศที่ให้ความสำคัญกับความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในตลาดโลก อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติ ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 และที่แก้ไขเพิ่มเติม คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนจึงออกประกาศ ให้แก้ไขเพิ่มเติมประเภทกิจการที่ได้รับการส่งเสริมในประเภท 5.2.2.3 กิจการผลิต ผลิตภัณฑ์ เซรามิกส์ และประเภท 5.2.5 กิจการผลิตวัสดุก่อสร้าง และกิจการผลิตผลิตภัณฑ์คอนกรีตอัดแรงสำหรับงานสาธารณูปโภค ของบัญชีท้ายประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ 9/2565 ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2565 |
|
|
|
|
กระทรวง : คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ประกาศใช้เมื่อ :30/06/2568
|
สาระสำคัญ |
อนุสนธิประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ 15/2565 ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2565 เรื่อง มาตรการยกระดับอุตสาหกรรม (Smart and Sustainable Industry) เพื่อให้มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการใช้พลังงานทดแทนโดยการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้า มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น รวมทั้งจะมีส่วนช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามเป้าหมายของรัฐบาล อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 และที่แก้ไขเพิ่มเติม คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนจึงให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ 12/2567 ลงวันที่ 3 กันยายน 2567 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ ด้านการใช้พลังงานทดแทนโดยการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ตามประกาศ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ 15/2565 และให้ออกประกาศ ดังต่อไปนี้ /--ข้อ 1 ให้นับมูลค่าการลงทุนในการปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการใช้พลังงานทดแทน โดยการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ดังนี้ /---1.1 เงินลงทุนด้านเครื่องจักรและ/หรืออุปกรณ์ที่เป็นสาระสำคัญในการปรับปรุงประสิทธิภาพ จำนวน 5 รายการ ได้แก่--1.1.1 แผงเซลล์แสงอาทิตย์ (PV Module); 1.1.2 เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Inverter) ; 1.1.3 หม้อแปลงไฟฟ้า (Transformer); 1.1.4 ระบบจ่ายไฟฟ้า ระบบควบคุม ระบบติดตามตรวจสอบ ระบบความปลอดภัย สถานีตรวจวัดอากาศ (Weather Station) และระบบล้างแผงเซลล์แสงอาทิตย์ (Cleaning System); 1.1.5 ระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้า (Battery Energy Storage System: BESS) และเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Inverter) ของระบบ BESS /--1.2 ค่าติดตั้งและค่าโครงสร้างรองรับ (Mounting Structure) ของเครื่องจักร และ/หรืออุปกรณ์ที่เป็นสาระสำคัญในการปรับปรุงประสิทธิภาพตาม /--2 กำหนดกรอบวงเงินการสนับสนุนสูงสุดในการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ดังนี้ /--2.1 การปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการใช้พลังงานทดแทนโดยการติดตั้งระบบ ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์--2.1.1 กรณีที่มีการลงทุนในรายการ 1.1.1 - 1.1.4 ให้นับมูลค่าเงินลงทุนรวม ค่าติดตั้งและค่าโครงสร้างรองรับใน 1.2 แล้ว จะต้องไม่เกิน 30 ล้านบาท ต่อกำลังการผลิตไฟฟ้า 1 เมกะวัตต์ (MW); 2.1.2 กรณีที่มีการลงทุนในรายการ 1.1.1 - 1.1.5 ให้นับมูลค่าเงินลงทุนรวม ค่าติดตั้งและค่าโครงสร้างรองรับใน 1.2 แล้ว จะต้องไม่เกิน 40 ล้านบาท ต่อกำลังการผลิตไฟฟ้า 1 เมกะวัตต์ (MW) /--2.2 การปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการใช้พลังงานทดแทนโดยการติดตั้งระบบ ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ และจากพลังงานทดแทนอื่น ๆ เช่น ลม เป็นต้น กรณีที่มีการลงทุน เฉพาะรายการ 1.1.5 เพียงอย่างเดียว ให้นับมูลค่าเงินลงทุนได้ไม่เกิน 12 ล้านบาทต่อกำลังการผลิตไฟฟ้า 1 เมกะวัตต์ (MW)/--ข้อ 3 ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับคําขอรับการส่งเสริมที่ยื่นตั้งแต่วันที่ออกประกาศเป็นต้นไป /--ข้อ 4 โครงการที่ยื่นคําขอรับการส่งเสริมก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ 12/2567 ลงวันที่ 3 กันยายน 2567 |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงมหาดไทย ประกาศใช้เมื่อ :15/05/2568
|
สาระสำคัญ |
ตามที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ออกประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ และสถาบัน/หน่วยงานทดสอบอินเวอร์เตอร์ (Inverter) ประกาศ ณ วันที่ 13 กันยายน 2566 ซึ่งรองรับการเชื่อมต่อสำหรับระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ โดยปัจจุบันการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคไม่มีหลักเกณฑ์การพิจารณาขึ้นทะเบียนอินเวอร์เตอร์สำหรับอุปกรณ์กักเก็บพลังงานไฟฟ้า จึงเห็นสมควรให้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์ดังกล่าว เพื่ออำนวยความสะดวกในการพิจารณาผลิตภัณฑ์ ให้มีคุณภาพ ปลอดภัย และเพิ่มประสิทธิภาพการเชื่อมต่อโครงข่ายไฟฟ้าให้ครอบคลุมตามรูปแบบ การใช้งาน และสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี รวมถึงเป็นไปตามมาตรฐานที่การไฟฟ้า ส่วนภูมิภาคกำหนด/--อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 13 (11) ประกอบมาตรา 29 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2503 และที่แก้ไขเพิ่มเติม การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จึงยกเลิกประกาศ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ และสถาบัน/หน่วยงาน ทดสอบอินเวอร์เตอร์ (Inverter) ประกาศ ณ วันที่ 13 กันยายน 2566 และใช้ประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ หน่วยทดสอบ และหน่วยทวนสอบรายงานผล อินเวอร์เตอร์ (Inverter) ฉบับนี้แทน ตามแนบท้ายประกาศนี้ สำหรับหลักเกณฑ์ตามประกาศ สามารถดาวน์โหลดได้ที่ www.pea.co.th และสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงาน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำนักงานใหญ่ กองวิจัยและควบคุมคุณภาพอุปกรณ์ไฟฟ้า โทร 0-2540-5578 หรือศูนย์บริการผู้ใช้ไฟฟ้า (PEA Contact Center) โทร. 1129 |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงสาธารณสุข ประกาศใช้เมื่อ :27/05/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติ การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยคําแนะนำของคณะกรรมการ สาธารณสุข จึงออกประกาศไว้/--ข้อ ୩ ให้เพิ่มความ (14) การประกอบกิจการรังนกแอ่น และการทำความสะอาดหรือตัดแต่งรังนกแอ่นของ 13. กิจการอื่น ๆ ของข้อ 3 แห่งประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2558 --โดยที่เป็นการสมควรเพิ่มเติมกิจการรังนกแอ่น และกิจการการทำความสะอาดหรือตัดแต่ง รังนกแอ่น ให้เป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เนื่องจากการประกอบกิจการดังกล่าว เป็นกิจการ ก่อให้เกิดมลพิษ ของเสีย และพาหะนำโรคที่อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน ที่อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงสาธารณสุข ประกาศใช้เมื่อ :27/05/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในข้อ 4 ข้อ 6 วรรคสอง และข้อ 22 วรรคสอง แห่งกฎกระทรวง ควบคุมสถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2560 การประกอบกิจการรังนกแอ่น และการทำความสะอาดหรือตัดแต่งรังนกแอ่น มีการกระจายในหลายพื้นที่ของประเทศ ก่อให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุรําคาญและอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนที่อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงและผู้ปฏิบัติงาน จึงสมควร กำหนดหลักเกณฑ์และมาตรการควบคุมป้องกันมิให้เกิดผลกระทบดังกล่าว |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงพลังงาน ประกาศใช้เมื่อ :10/06/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในข้อ 32 วรรคหนึ่ง แห่งกฎกระทรวงระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ พ.ศ. 2567 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้/--ข้อ 3 ผู้ประกอบกิจการควบคุมที่ประสงค์จะยกเลิกใช้งานเป็นการถาวรทั้งหมดหรือยกเลิกใช้งาน เป็นการถาวรบางส่วนให้แจ้งแผนการดำเนินการ แผนปฏิบัติการคืนสภาพ พร้อมด้วยแผนผัง แบบและรายการดังต่อไปนี้ ต่ออธิบดีกรมธุรกิจพลังงานเพื่อพิจารณาเห็นชอบ--(1) แผนผังโดยสังเขปแสดงตำแหน่งที่ตั้งข ที่ตั้งของระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ ; (2) แผนผังบริเวณแสดงแนวท่อของระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ ; (3) แผนภาพแสดงกระบวนการไหล ; (4) แบบแสดงรายละเอียดท่อและอุปกรณ์ ; (5) แบบก่อสร้างระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ มีรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ (ก) แนวท่อและระดับของระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ ; (ข) รูปตัดแนววางท่อตามยาวตลอดแนวท่อและความกว้างของแนวท่อ; (ค) ขนาดท่อ ความยาวท่อ ; (ง) ตำาแหน่งที่ตั้งของลิ้นปิดเปิดควบคุมการไหลของก๊าซธรรมชาติและอุปกรณ์ส่วนควบของระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ ; (6) แบบแสดงการเชื่อมต่อของระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อในช่วงที่มีการยกเลิกกับ ระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่ออื่น หรือสถานประกอบกิจการควบคุมอื่น/ แผนผัง แบบ และรายการตามวรรคหนึ่ง ต้องมีมาตราส่วนที่แสดงรายละเอียดต่าง ให้สามารถตรวจสอบได้อย่างชัดเจน/--ข้อ 4 แผนการดำเนินการ ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้--(1) วิธีการ ขอบเขตของการยกเลิกใช้งานรวมถึงวิธีการทดสอบการยกเลิกใช้งานและกำหนดระยะเวลาเริ่มต้นจนถึงสิ้นสุด; (2) ขั้นตอนการดำเนินการ การยกเลิกใช้งาน /--ข้อ 5 แผนปฏิบัติการคืนสภาพ--(1) กรณีระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อบนบกที่จะยกเลิกใช้งานเป็นการถาวรบางส่วนต้องแสดงตามมาตรการที่ระบุในประมวลหลักการปฏิบัติงาน (Code of Practice; COP) ท้ายประกาศกระทรวงพลังงาน ว่าด้วยการจัดทำรายงานด้านสิ่งแวดล้อม และรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการ โครงการระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ เฉพาะการยกเลิกใช้งานเป็นการถาวร ; (2) กรณีระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อบนบกที่จะยกเลิกใช้งานเป็นการถาวรทั้งหมดหรือกรณีระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อในทะเลที่จะยกเลิกใช้งานเป็นการถาวรทั้งหมดหรือบางส่วน ให้จัดทำเป็นรายงานด้านสิ่งแวดล้อม ตามประกาศกระทรวงพลังงาน ว่าด้วยการจัดทำรายงาน ด้านสิ่งแวดล้อม และรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการ โครงการระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ ข้อ 6 เมื่อผู้ประกอบกิจการควบคุมได้ดำเนินการยกเลิกใช้งานเป็นการถาวรบางส่วนตามแผนการดำเนินการและแผนปฏิบัติการคืนสภาพที่ได้รับความเห็นชอบตามข้อ 3 เรียบร้อยแล้ว ให้ยื่นรายงานผลการดำเนินการ รายงานผลการปฏิบัติการคืนสภาพ หนังสือแจ้งยกเลิกการใช้งาน ถึงเจ้าของ ผู้ครอบครองที่ดิน หรือผู้ทรงสิทธิอื่น พร้อมกับหนังสือแจ้งขอรับใบอนุญาตแก้ไขเปลี่ยนแปลง ต่อกรมธุรกิจพลังงาน |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงพลังงาน ประกาศใช้เมื่อ :10/06/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในข้อ 5 และข้อ 5 แห่งกฎกระทรวงระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ พ.ศ. 2567 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้/--ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับการดำเนินโครงการที่มีลักษณะและพื้นที่ดังต่อไปนี้ และต้องจัดทำรายงานด้านสิ่งแวดล้อมเสนอต่อกรมธุรกิจพลังงาน/--(1) โครงการทั้งหมดมีความดันใช้งานสูงสุดน้อยกว่าหรือเท่ากับยี่สิบบาร์ และมีขนาด เส้นผ่าศูนย์กลางของท่อน้อยกว่าหรือเท่ากับสิบหกนิ้วในทุกพื้นที่ แต่ไม่รวมถึงพื้นที่ที่มีมติคณะรัฐมนตรี หรือกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ; (2) โครงการที่มีความดันใช้งานสูงสุดมากกว่ายี่สิบบาร์ขึ้นไป หรือมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของท่อ มากกว่าสิบหกนิ้วขึ้นไป ที่โครงการทั้งหมดอยู่ในเขตนิคมอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการนิคม อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย/--ข้อ 4 โครงการที่ได้รับความเห็นชอบรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติแล้ว ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดทำรายงาน ด้านสิ่งแวดล้อม และรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการตามประกาศนี้/--ข้อ 5 รายงานด้านสิ่งแวดล้อม และรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการต้องจัดทำโดยผู้มีสิทธิ จัดทำรายงานที่ได้รับใบรับรองจากกรมธุรกิจพลังงาน และต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามกฎกระทรวงว่าด้วย การกำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิจัดทำรายงาน/--รายงานตามวรรคหนึ่งให้จัดทำตามแนวทางท้ายประกาศนี้/--ข้อ 6 การกำหนดมาตรการป้องกัน แก้ไข ลด ติดตามและตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ในรายงานด้านสิ่งแวดล้อม ให้เป็นไปตามประมวลหลักการปฏิบัติ (Code of Practice; COP) ท้ายประกาศนี้/-กรณีที่ผลการศึกษาตามรายงานด้านสิ่งแวดล้อม จำเป็นต้องมีมาตรการป้องกัน แก้ไข ลด ติดตาม และตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติมมากกว่าในประมวลหลักการปฏิบัติ เจ้าของโครงการต้องกำหนดมาตรการดังกล่าวนั้นไว้ในรายงานด้านสิ่งแวดล้อมด้วย/--ข้อ 7 เจ้าของโครงการที่ประสงค์ขอความเห็นชอบรายงานด้านสิ่งแวดล้อมจะต้องยื่นคำขอรับ ความเห็นชอบรายงานด้านสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามแบบ สล.201-1 ท้ายประกาศนี้ พร้อมด้วยเอกสาร และหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบดังกล่าว |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงพลังงาน ประกาศใช้เมื่อ :10/06/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในข้อ 18 แห่งกฎกระทรวงระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ พ.ศ. 2567 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ /--หมวด 1 บททั่วไป (ข้อ 3-4)/--ข้อ 3 การทดสอบและตรวจสอบ และการบำรุงรักษาระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ ให้เป็นไปตามมาตรฐาน ASME B31.3 มาตรฐาน ASME B31.8 มาตรฐาน EN 12007 มาตรฐาน API 570 มาตรฐาน NACE SP0169 หรือมาตรฐาน NACE SP0502 โดยต้องปฏิบัติอย่างน้อย ให้เป็นไปตามหมวด 2 และหมวด 3 ในประกาศนี้ แล้วแต่กรณี/--ข้อ 4 ผู้ประกอบกิจการควบคุมต้องจัดทำรายงานการทดสอบและตรวจสอบระบบการขนส่ง ก๊าซธรรมชาติทางท่อตามข้อ 5 ข้อ 8 ข้อ 10 และข้อ 11 อย่างน้อยต้องมีรายการตามแบบท้ายประกาศนี้/--หมวด 2 การทดสอบและตรวจสอบก่อนการใช้งาน (ข้อ 5 -7)/--ข้อ 5 การทดสอบและตรวจสอบก่อนการใช้งานของระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ /--ข้อ 7 สำหรับการขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ ผู้ขออนุญาตสามารถส่งผลการทดสอบและตรวจสอบตามข้อ 5 ที่ได้ทำการทดสอบและตรวจสอบ เกินกว่า ปีได้ แต่ต้องจัดส่งผลการตรวจสอบประสิทธิภาพระบบการป้องกันการกัดกร่อนเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้--(1) ท่อส่งก๊าซธรรมชาติบนบกที่ติดตั้งใต้ดินต้องมีผลการตรวจสอบไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่ ทำการตรวจสอบตรวจสอบ ; (2) ท่อส่งก๊าซธรรมชาติในทะเลต้องมีผลการตรวจสอบไม่เกิน 5 ปีนับแต่วันที่ทำการในกรณีที่ท่อส่งก๊าซธรรมชาติบนบกที่ติดตั้งใต้ดินเป็นท่อพอลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง ให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีการตรวจสอบตามข้อนี้ /--หมวด 3 การทดสอบและตรวจสอบ และการบำรุงรักษาระหว่างการใช้งาน (ข้อ 8-15- )/--บทเฉพาะกาล (ข้อ 16) |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงพลังงาน ประกาศใช้เมื่อ :10/06/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในข้อ 30 แห่งกฎกระทรวงระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ พ.ศ. 2567 อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ /--ข้อ 3 เมื่อเกิดอุบัติเหตุผู้ประกอบกิจการควบคุมต้องแจ้งการเกิดอุบัติเหตุต่ออธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน หรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายในหนึ่งชั่วโมง นับแต่ได้รู้ถึงการเกิดอุบัติเหตุ/-ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มีคำสั่ง ให้ผู้ประกอบกิจการควบคุมดำเนินการ และผู้ประกอบ กิจการควบคุมได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ให้รายงานผลการดำเนินการให้กรมธุรกิจพลังงานทราบ /--ข้อ 4 ผู้ประกอบกิจการควบคุมต้องจัดทำรายงานอุบัติเหตุเบื้องต้นและรายงานให้กรมธุรกิจพลังงาน ทราบภายในสามวัน นับแต่วันที่เกิดอุบัติเหตุ/-แบบรายงานอุบัติเหตุเบื้องต้นให้เป็นไปตามแบบ ธพ.ช.7ท แนบท้ายประกาศนี้ /--ข้อ 5 ผู้ประกอบกิจการควบคุมต้องจัดทำรายงานการเกิดอุบัติเหตุและรายงานให้กรมธุรกิจพลังงาน ทราบภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่เกิดอุบัติเหตุ แบบรายงานการเกิดอุบัติเหตุให้เป็นไปตามแบบ ธพ.ช.8ท แนบท้ายประกาศนี้ /--ข้อ 5 ในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการควบคุมจำเป็นจะต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงระบบการขนส่ง ก๊าซธรรมชาติทางท่อ ที่ได้รับความเสียหาย ให้ยื่นเอกสารเพิ่มเติมก่อนเริ่มดำเนินการ ดังนี้ --(ก) รายงานการวิเคราะห์ความเสียหายของระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อที่เกิดจากอุบัติเหตุ เพื่อนำมากำหนดขอบเขตการซ่อมแซม ; (ข) แผน ขั้นตอนและวิธีการในการซ่อมแซม ; (ค) แผนการจัดการสิ่งแวดล้อม ซึ่งต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการป้องกันและแก้ไข ผลกระท ะทบสิ่งแวดล้อมระหว่างการซ่อมแซม แผนการฟื้นฟูสภาพ แผนการตอบสนองกรณีเหตุฉุกเฉินขณะทำการซ่อมแซม เป็นอย่างน้อย |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงพลังงาน ประกาศใช้เมื่อ :10/06/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในข้อ 10 วรรคสอง แห่งกฎกระทรวงระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ พ.ศ. 2567 อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ /--ข้อ 2 แผนผังโดยสังเขปแสดงตำแหน่งที่ตั้งและแผนผังบริเวณแสดงแนวท่อของระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อที่ส่งเป็นข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีการเชื่อมโยงพิกัดภูมิศาสตร์กับแผนที่ ที่แสดงตำแหน่งที่ตั้งของระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อที่ได้รับอนุญาตจากกรมธุรกิจพลังงานโดยต้องแสดงข้อมูลอย่างน้อย ดังต่อไปนี้--(1) แนวท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ; (2) ชื่อจุดเริ่มต้น และจุดสิ้นสุดของแต่ละแนวท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ; (3) สถานีหรือแท่นประกอบการ (ถ้ามี) ; (4) วาล์วที่ใช้เชื่อมต่อในอนาคต หรือวาล์วตัดแยก (ถ้ามี) ข้อมูลตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดตามรูปแบบแนบท้ายประกาศนี้/--ข้อ 3 ข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ตามข้อ 2 ให้ผู้ประกอบกิจการควบคุมจัดส่งในรูปแบบ ข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Shapefile) และนามสกุลไฟล์ kmz บนพื้นหลักฐาน World Geodetic System 1984 (WGS1984) ประเภทระบบพิกัด กริด UTM (Universal Transverse Mercator Coordinate System) /-การจัดส่งข้อมูลตามวรรคหนึ่ง ให้จัดส่งโดยการบันทึกข้อมูลไว้ในอุปกรณ์บันทึกข้อมูล หรือผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ที่กรมธุรกิจพลังงานประกาศกำหนด |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ประกาศใช้เมื่อ :12/06/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 50 (5) แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 ประกอบกับข้อ 26 แห่งระเบียบคณะกรรมการบริหาร กองทุนความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ว่าด้วยการรับเงิน การจ่ายเงิน และการเก็บรักษาเงินกองทุนความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2556 และที่แก้ไขเพิ่มเติม คณะกรรมการบริหารกองทุนความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน จึงออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์การตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของกองทุนความปลอดภัย/--ข้อ 3 การตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ให้กองทุนพิจารณาเฉพาะลูกหนี้เงินให้กู้ยืมที่คาดว่า จะเรียกเก็บเงินไม่ได้เป็นราย ๆ ไป และรับรู้ในทางบัญชีงบการเงินเฉพาะรายนั้น ๆ เท่านั้น /--ข้อ 4 ให้กองทุนตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญประจำปีบัญชี โดยประมาณจากยอดที่ค้างชําระ ดังนี้ /--(1) ลูกหนี้ที่ค้างชําระติดต่อกันเกินกว่า 3 เดือน แต่ไม่เกิน 6 เดือน อัตราร้อยละ 15 ; (2) ลูกหนี้ที่ค้างชําระติดต่อกันเกินกว่า 6 เดือน แต่ไม่เกิน ปี แต่ไม่เกิน 1 ปี อัตราร้อยละ 25 ; (3) ลูกหนี้ที่ค้างชําระติดต่อกันเกินกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปี อัตราร้อยละ 50 ; (4) ลูกหนี้ที่ค้างชําระติดต่อกันเกินกว่า 2 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี อัตราร้อยละ 75 ; (5) ลูกหนี้ที่ค้างชําระติดต่อกันเกินกว่า 5 ปี หรือ ลูกหนี้ที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว อัตราร้อยละ 100 /--ข้อ 5 การตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญสำหรับลูกหนี้เงินให้กู้ยืมในส่วนที่คาดว่าไม่สามารถ เรียกเก็บเงินได้ โดยทุกสิ้นปีทางบัญชี ให้กองทุนดำเนินการ ดังนี้--(1) ทบทวนหลักเกณฑ์การตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของกองทุน ; (2) ตรวจสอบความมีตัวตนของลูกหนี้เงินให้กู้ยืมของกองทุน ; (3) รายงานการวิเคราะห์รายการลูกหนี้ค้างชําระที่คาดว่าไม่สามารถเรียกเก็บได้ของกองทุน ; (4) ประมาณการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญและสรุปผลการดำเนินการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของกองทุนเสนอต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานพิจารณาให้ความเห็นชอบ; (5) ตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญสำหรับลูกหนี้เงินให้กู้ยืมในส่วนที่คาดว่าไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้ และทำการบันทึกบัญชี ณ สิ้นปีทางบัญชี |
|
|
|
|
กระทรวง : กสทช ประกาศใช้เมื่อ :18/06/2568
|
สาระสำคัญ |
ด้วยเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 4 (4G) และยุคที่ 5 (5G) ในปัจจุบัน มีประสิทธิภาพ สูงกว่าเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 2 (26) และยุคที่ 3 (3G) ในหลายด้าน เช่น อัตราการส่ง ข้อมูลสูงสุด ความหน่วงของระบบ ความหนาแน่นในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ รวมถึงมีพื้นที่ให้บริการ ครอบคลุมเป็นส่วนใหญ่ของประเทศไทยแล้ว และเพื่อให้การใช้คลื่นความถี่ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ครั้งที่ 13/2568 เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2568 มีมติเห็นชอบในการดำเนินการเกี่ยวกับเครื่องโทรคมนาคม และอุปกรณ์ที่ใช้เฉพาะเทคโนโลยี 2G และ 3G ดังนี้ /--1. การตรวจสอบและรับรองมาตรฐานของเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ที่ใช้เฉพาะเทคโนโลยี 2G และ 3G ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2568/--2. การอนุญาตให้นําเข้าเครื่องโทรคมนาคมและอุปกรณ์ที่ใช้เฉพาะเทคโนโลยี 2G และ 3G ได้ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2568 /--3. การยุติการอนุญาตให้ออกเครื่องหมายการได้รับการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานด้วยตนเอง และยุติการขอรับการออกเครื่องหมายการได้รับการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานจากสำนักงาน คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ของเครื่อง โทรคมนาคมและอุปกรณ์ที่ใช้เฉพาะเทคโนโลยี 2G และ 3G |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงคมนาคม ประกาศใช้เมื่อ :17/06/2568
|
สาระสำคัญ |
ตามที่มาตรา 285/1 แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2556 เพิ่มโดยพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2560 กำหนดให้เจ้าท่ามีอำนาจ ออกหนังสือสำคัญประจำตัวคนประจำเรือได้ เมื่อได้รับการร้องขอ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ แบบหนังสือสำคัญ และอัตราค่าธรรมเนียมการออกหนังสือสำคัญประจำตัวคนประจำเรือ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง นั้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ 5 และข้อ 11 ของกฎกระทรวงการออกหนังสือสำคัญ ประจำตัวคนประจำเรือ พ.ศ. 2563 อธิบดีกรมเจ้าท่าจึงประกาศกำหนดแบบคําขอรับหนังสือสำคัญ ประจำตัวคนประจำเรือ และแบบคําขอแก้ไขรายการหนังสือสำคัญประจำตัวคนประจำเรือ แนบท้ายประกาศนี้เพื่อให้ประชาชนใช้ยื่นขอรับหนังสือสำคัญประจำตัวคนประจำเรือตามกฎหมายต่อไป |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงคมนาคม ประกาศใช้เมื่อ :17/06/2568
|
สาระสำคัญ |
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตและการอนุญาตให้เดินรถหมุนเวียน ประกาศ ณ วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2558 ไว้แล้ว นั้น /--โดยที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2568 เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2568 ได้มีมติอนุมัติให้กำหนด (ปรับปรุง) เงื่อนไขเกี่ยวกับมาตรฐานบริการ ในการประกอบการขนส่งไว้ในใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร โดยมิให้รถโดยสารประจำทางมาตรฐาน 4 (รถโดยสารสองชั้น) เดินรถในเส้นทางที่มีความเสี่ยง ในขณะให้บริการขนส่งผู้โดยสาร และเห็นชอบให้ปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการขออนุญาต และการอนุญาตให้เดินรถหมุนเวียน เพื่อให้ผู้ประกอบการขนส่งที่มีเงื่อนไขการเดินรถเฉพาะรถโดยสาร ประจำทางมาตรฐาน 4 (รถโดยสารสองชั้น) และเดินรถในเส้นทางที่มีความเสี่ยง สามารถนํารถหมุนเวียนในลักษณะต่างมาตรฐานกับรถที่กำหนดไว้ในเงื่อนไขในใบอนุญาตประกอบการขนส่งเส้นทาง ที่นําไปใช้เดินรถหมุนเวียน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 39/1 แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2557 ประกอบมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ 3/2568 เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2568 คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง จึงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการขออนุญาตและการอนุญาตให้เดินรถหมุนเวียนในเส้นทางที่มีความเสี่ยงไว้ ดังต่อไปนี้/ข้อ 1 ในประกาศนี้ --ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ในเส้นทางหมวด 2 และหมวด 3 ที่มีรถมาตรฐาน 4(รถโดยสารสองชั้น) เดินรถอยู่ในเส้นทางที่มีความเสี่ยง ; เส้นทางที่มีความเสี่ยง หมายความว่า เส้นทางที่มิให้รถโดยสารประจำทางมาตรฐาน 4 (รถโดยสารสองชั้น) เดินรถในขณะที่ให้บริการขนส่งผู้โดยสาร จำนวน 7 เส้นทาง ดังนี้ --(1) สี่แยกกบินทร์บุรี - วังน้ำเขียว ทางหลวงหมายเลข 304 จังหวัดปราจีนบุรี หลักกิโลเมตรเริ่มต้น 208,000 หลักกิโลเมตรสิ้นสุด 213+000 รวมระยะทาง 5 กิโลเมตร ; (2) เขาพับผ้า - พัทลุง ทางหลวงหมายเลข 4 จังหวัดพัทลุง หลักกิโลเมตรเริ่มต้น 1134+000 หลักกิโลเมตรสิ้นสุด 1139+000 รวมระยะทาง 5 กิโลเมตร ; (3) แม่ยางฮ่อ - แม่ตีบ ทางหลวงหมายเลข 103 จังหวัดแพร่ หลักกิโลเมตรเริ่มต้น 30+000 หลักกิโลเมตรสิ้นสุด 40,000 รวมระยะทาง 10 กิโลเมตร ; (4) เชียงใหม่ - ดอยนางแก้ว ทางหลวงหมายเลข 118 จังหวัดเชียงใหม่ หลักกิโลเมตรเริ่มต้น 42,000 หลักกิโลเมตรสิ้นสุด 52-750 รวมระยะทาง 10.75 กิโลเมตร ; (5) บ่อโพธิ์ - โคกงาม ทางหลวงหมายเลข 2013 จังหวัดเลย หลักกิโลเมตรเริ่มต้น 64-500 หลักกิโลเมตรสิ้นสุด 71-900 รวมระยะทาง 7.4 กิโลเมตร ; (6) โต๊ะโหวะ - อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า ทางหลวงหมายเลข 2331 จังหวัดเพชรบูรณ์ หลักกิโลเมตรเริ่มต้น 6-700 หลักกิโลเมตรสิ้นสุด 12-950 รวมระยะทาง 6.25 กิโลเมตร ; (7) ปัว - อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ทางหลวงหมายเลข 1256 จังหวัดน่าน หลักกิโลเมตร เริ่มต้น 4,000 หลักกิโลเมตรสิ้นสุด 15,000 รวมระยะทาง 9 กิโลเมตร /--ข้อ 2 ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งในเส้นทางที่มีความเสี่ยงผู้ใดประสงค์ จะขออนุญาตนํารถที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ประกอบการขนส่งในเส้นทางหนึ่งไปใช้ทำการขนส่งอีกเส้นทางหนึ่ง ที่ตนเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตในลักษณะหมุนเวียน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ --(1) เส้นทางที่ขออนุญาตเดินรถหมุนเวียนเส้นทางใดเส้นทางหนึ่ง จะต้องเป็นเส้นทางที่มีความเสี่ยงและผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งต้องสามารถจัดการเดินรถหมุนเวียนได้อย่างสะดวก มีประสิทธิภาพ และไม่เกิดผลกระทบต่อประชาชนผู้ใช้บริการในเส้นทางใดเส้นทางหนึ่ง ; (2) เมื่อนํารถไปใช้เดินรถหมุนเวียนในเส้นทางที่มีความเสี่ยงแล้ว ต้องมีรถเหลือในเส้นทางเดิม ไม่ต่ำกว่าจำนวนรถขั้นต่ำ และต้องไม่กระทบต่อจำนวนเที่ยวของการเดินรถตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ในเส้นทางนั้น ๆ ; (3) รถที่นําไปเดินหมุนเวียนในเส้นทางที่มีความเสี่ยง ต้องเป็นรถโดยสารประจำทางชั้นเดียว โดยผู้ประกอบการขนส่งสามารถนํารถโดยสารประจำทางมาตรฐาน 4 (รถโดยสารสองชั้น) ที่เดินรถผ่านเส้นทางที่มีความเสี่ยงไปใช้เดินรถหมุนเวียนในเส้นทางสายอื่นที่ตนเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตได้ ; (4) รถในเส้นทางที่จะขออนุญาตนําไปใช้เดินรถหมุนเวียนในอีกเส้นทางหนึ่งต้องจดทะเบียน และชําระภาษีครบถ้วนถูกต้อง |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงคมนาคม ประกาศใช้เมื่อ :12/06/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 34 (1) แห่งพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 พ.ศ. 2558 ที่บัญญัติให้มาตรฐานความสมควรเดินอากาศของอากาศยานหรือของส่วนประกอบสำคัญ ของอากาศยาน รวมถึงมาตรฐานทางเทคนิคของบริภัณฑ์ให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อกำหนด/--ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย จึงออกข้อกำหนดในเรื่องมาตรฐานความสมควร เดินอากาศของอากาศยานไว้ |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงคมนาคม ประกาศใช้เมื่อ :18/06/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6/1 และมาตรา 34 (2) แห่งพระราชบัญญัติ การเดินอากาศ พ.ศ. 2497 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ การเดินอากาศ พ.ศ. 2497 พ.ศ. 2558 ที่บัญญัติให้มาตรฐานอากาศยานเกี่ยวกับการคุ้มครอง สิ่งแวดล้อม เช่น มาตรฐานมลพิษทางเสียง หรือมาตรฐานมลพิษทางอากาศ ให้เป็นไปตามที่กำหนด ในข้อกำหนด ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย จึงออกข้อกำหนดในเรื่องมาตรฐาน อากาศยานเกี่ยวกับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมไว้ ดังต่อไปนี้/--ข้อ 3 ให้ยกเลิกข้อกำหนดของคณะกรรมการเทคนิค ฉบับที่ 2 ว่าด้วยมาตรฐานมลพิษ จากเครื่องยนต์ของอากาศยาน พ.ศ. 2557 ประกาศ ณ วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 /--ข้อ 5 มาตรฐานอากาศยานเกี่ยวกับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในเรื่อง ดังต่อไปนี้ ให้เป็นไปตาม Thailand Civil Aviation Regulation - Airworthiness Part Aircraft Environmental Protection - Standards (TCAR AIR Part - 34) Issue 01 Revision 00 Date 28 May 2025 แนบท้ายข้อกำหนดนี้ (1) มาตรฐานมลพิษทางเสียงของอากาศยาน (Noise Standard) ; (2) มาตรฐานมลพิษจากเครื่องยนต์ของอากาศยาน (Engine Emission Standard) ; (3) มาตรฐานการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของเครื่องบิน (Aeroplane CO2 Emission Standard) /--ข้อ 6 มาตรฐานอากาศยานเกี่ยวกับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมตามข้อ 5 ใช้บังคับเฉพาะกับ อากาศยานและเครื่องยนต์ที่ได้รับใบรับรองแบบ ซึ่งเป็นไปตามแบบและกลุ่มของอากาศยาน และเครื่องยนต์ที่กำหนดไว้ Appendix I, II และ II ของ Thailand Civil Aviation Regulation -Airworthiness Part Aircraft Environmental Protection Standards (TCAR AIR Part - 34) Issue 01 Revision 00 Date 28 May 2025 แนบท้ายข้อกำหนดนี้ แต่ไม่รวมถึงอากาศยาน ที่ปฏิบัติการทำงานทางอากาศ หรืออากาศยานอื่นที่ผู้อำนวยการกำหนดมาตรฐานอากาศยานเกี่ยวกับ การคุ้มครองสิ่งแวดล้อมไว้เป็นการเฉพาะ |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงคมนาคม ประกาศใช้เมื่อ :18/06/2568
|
สาระสำคัญ |
ตามที่ได้ออกข้อกำหนดของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 97 ว่าด้วย มาตรฐานอากาศยานเกี่ยวกับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีการกำหนดมาตรฐานมลพิษทางเสียง ของอากาศยานไว้ ประกอบกับมาตรา 15/7 (2) และ (4) แห่งพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการกำกับดูแลการบินพลเรือนของประเทศในเรื่องผลิตภัณฑ์และมาตรฐานอากาศยาน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6/1 และมาตรา 15/10 วรรคหนึ่ง (2) และวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562 ที่กำหนดให้ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยมีอำนาจกำหนดมาตรการหรือการดำเนินการที่จำเป็นต่อการกำกับดูแลการบินพลเรือนตามมาตรา 15/7 ในเรื่องมาตรฐานอากาศยานและผลิตภัณฑ์ โดยออกข้อกำหนดเพื่อกำกับดูแลให้เป็นไปตามเรื่องดังกล่าว ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย จึงออกข้อกำหนดในเรื่องใบรับรองเสียงอากาศยานไว้ ดังต่อไปนี้ /--ข้อ 3 ให้ยกเลิกข้อกำหนดของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 16 ว่าด้วยมาตรฐานมลพิษทางเสียงของอากาศยาน และการขอและการออกใบรับรองเสียงอากาศยาน ประกาศ ณ วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2562 /--ข้อ 5 อากาศยานที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งเป็นอากาศยานที่ต้องได้มาตรฐานมลพิษทางเสียงของอากาศยาน (Noise Standard) ตามที่กำหนดในข้อกำหนดของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยว่าด้วยมาตรฐานอากาศยานเกี่ยวกับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม (Thailand Civil Aviation Regulation - Airworthiness Part Aircraft Environmental Protection Standards (TCAR AIR Part - 34)) และที่แก้ไขเพิ่มเติม ต้องมีใบรับรองเสียงอากาศยาน /--ข้อ 6 ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอากาศยานตามข้อ 5 ยื่นคําขอใบรับรองเสียงอากาศยาน ตามแบบที่ผู้อำนวยการกำหนด พร้อมกับการยื่นคําขอจดทะเบียนอากาศยานต่อผู้อำนวยการ พร้อมด้วยเอกสารหลักฐาน |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงคมนาคม ประกาศใช้เมื่อ :19/06/2568
|
สาระสำคัญ |
ตามที่มาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 แก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 พ.ศ. 2558 กำหนดห้ามมิให้อากาศยานต่างประเทศบินผ่านหรือขึ้นลงในราชอาณาจักร เว้นแต่จะมีสิทธิตามอนุสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศ หรือได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากรัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งรัฐมนตรีกำหนด ประกอบคําสั่งกระทรวงคมนาคม ที่ 310/2558 สั่ง ณ วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2558 เรื่อง การกำหนดผู้อนุญาตตามมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 ข้อ 2 28 ซึ่งกำหนดให้ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยเป็นผู้มีอำนาจอนุญาตตามมาตรา แห่งพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 จึงสมควรกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการอนุญาต ให้อากาศยานต่างประเทศทำการบินผ่านหรือขึ้นลงในราชอาณาจักรเพื่อภารกิจด้านการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย เพื่อให้การอนุญาตการทำการบินแก่อากาศยานต่างประเทศที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะดังกล่าวดำเนินการได้โดยเร็วและทันต่อสถานการณ์ อาศัยอำนาจตามความ ในมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนด แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 พ.ศ. 2558 ผู้อำนวยการสำนักงาน การบินพลเรือนแห่งประเทศไทยจึงออกประกาศเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการอนุญาตให้อากาศยาน ต่างประเทศทำการบินในราชอาณาจักรเพื่อภารกิจด้านการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยไว้ ดังต่อไปนี้ /--ข้อ 4 อากาศยานต่างประเทศที่ประสงค์จะทำการบินเพื่อภารกิจด้านการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยในราชอาณาจักร ให้ดำเนินการขออนุญาตทำการบินผ่านสำนักงาน ก.ย. /--ข้อ 5 ให้สำนักงาน ก.ย. ยื่นคําขออนุญาตทำการบินของอากาศยานต่างประเทศเพื่อภารกิจด้านการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยในราชอาณาจักรไทยมายังสำนักงานตามข้อ 4 ผ่านระบบ Flight Permit Online System (FPOS) โดยผู้อำนวยการจะพิจารณาอนุญาต โดยให้ความสำคัญสูงสุดและเร่งด่วน/--ข้อ 6 เมื่อผู้อำนวยการให้อนุญาตตามข้อ 5 แล้ว ให้สำนักงาน ก.ย. แจ้งให้กับผู้ควบคุม อากาศยานต่างประเทศหรือผู้แทนแจ้งแผนการบินกับหน่วยงานให้บริการจราจรทางอากาศที่รับผิดชอบพร้อมทั้งระบุหมายเลขการอนุญาตในแผนการบินด้วย |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงคมนาคม ประกาศใช้เมื่อ :19/06/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6/1 และมาตรา 60/13 (2) แห่งพระราชบัญญัติ การเดินอากาศ พ.ศ. 2497 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ การเดินอากาศ พ.ศ. 2497 พ.ศ. 2558 ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย จึงออกข้อกำหนดเพื่อกำหนดคุณสมบัติของผู้จัดการสนามบินสาธารณะให้มีความรู้และความชานาญในเรื่อง ดังต่อไปนี้/--ข้อ 5 ผู้จัดการสนามบินสาธารณะต้องมีความรู้ ในเรื่อง ดังต่อไปนี้ --(1) กฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวกับสนามบิน ; (2) หน้าที่ของผู้ได้รับใบรับรองการดำเนินงานสนามบินสาธารณะ ; (3) มาตรฐานกายภาพสนามบิน สิ่งอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ รวมทั้งสิ่งติดตั้ง และอุปกรณ์ในสนามบิน ; (4) การดูแลและรักษาพื้นผิวของบริเวณที่ใช้เป็นพื้นที่ขึ้นลงหรือเคลื่อนไหวของอากาศยานภายในสนามบินอนุญาตที่เปิดให้บริการแก่สาธารณะ สิ่งอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ รวมทั้ง สิ่งติดตั้งและอุปกรณ์ในสนามบิน ; (5) การดำเนินงานสนามบินอนุญาตที่เปิดให้บริการแก่สาธารณะเกี่ยวกับหน้าที่ของสนามบิน การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานต่าง ๆ ของสนามบิน การปฏิบัติงานในเขตการบิน (Airside) การจัดการแผนฉุกเฉินของสนามบิน (Aerodrome Emergency Plan) การจัดการสิ่งแวดล้อม ของสนามบิน รวมถึงการตรวจสอบและควบคุมสิ่งกีดขวางในเขตการบิน (Airside) และเขตปลอดภัย ในการเดินอากาศ ; (6) ระบบการรักษาความปลอดภัยของสนามบินอนุญาตที่เปิดให้บริการแก่สาธารณะ รวมถึง การบริหารวิกฤตการณ์เมื่อเกิดการกระทำอันเป็นการแทรกแซงโดยมิชอบด้วยกฎหมายหรือเหตุฉุกเฉินอย่างอื่น ; (7) ระบบการจัดการด้านนิรภัยของสนามบินอนุญาตที่เปิดให้บริการแก่สาธารณะ (8) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริการการเดินอากาศ /--ข้อ 5 ผู้จัดการสนามบินสาธารณะต้องมีความรู้โดยผ่านการทดสอบจากสำนักงานและมีความชํานาญโดยต้องทำงานที่เกี่ยวข้องกับสนามบินมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ประกาศใช้เมื่อ :26/05/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 134 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ /--ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 15 แห่งระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์ อัตราเงินที่จะจ่ายและระยะเวลาการจ่าย พ.ศ. 2565 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน---ข้อ 15 อัตราการจ่ายเงินสงเคราะห์จากกรณีนายจ้างไม่จ่ายเงินอื่นนอกจากค่าชดเชย ตามข้อ 8 (2) หรือข้อ 8 (3) ให้จ่ายในอัตราไม่เกินเจ็ดสิบเท่าของอัตราค่าจ้างขั้นต่ํารายวัน ตามประกาศคณะกรรมการค่าจ้างเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างขั้นต่ํา/--ให้จ่ายเงินสงเคราะห์แก่ลูกจ้างในคราวเดียวกันทั้งจำนวน แต่ไม่เกินกว่าจำนวนเงินอื่นนอกจากค่าชดเชยที่พนักงานตรวจแรงงานมีคําสั่งให้นายจ้างจ่าย/--กรณีลูกจ้างได้รับเงินอื่นตามข้อ 8 (2) จากนายจ้างบางส่วนแล้ว ให้จ่ายเงินสงเคราะห์ แก่ลูกจ้างเพิ่มเฉพาะในส่วนที่ยังไม่ครบถ้วนตามที่ลูกจ้างจึงมีสิทธิได้รับตามวรรคหนึ่ง/--ข้อ 4 ผู้มีสิทธิที่จะได้รับเงินสงเคราะห์ตามระเบียบนี้ จะต้องเป็นลูกจ้างซึ่งยื่นคําร้อง ต่อพนักงานตรวจแรงงาน โดยพนักงานตรวจแรงงานมีคําสั่งเป็นที่สุดนับแต่วันที่ระเบียบนี้มีผลบังคับใช้ |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ประกาศใช้เมื่อ :14/05/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 (2) แห่งพระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม พ.ศ. 2560 คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 314/2567 ลงวันที่ 16 กันยายน 2567 ประกอบด้วยคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 1/2568 เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 จึงได้เห็นชอบคำนิยามกำลังคนดิจิทัล (Digital Human Capital) โดยอ้างอิงจากพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 44 ห้ามมิให้นายจ้าง จ้างเด็กอายุต่ํากว่าสิบห้าปีเป็นลูกจ้าง ดังนั้นในการพิจารณากำหนดคำนิยามจึงพิจารณาเฉพาะผู้ที่มีอายุ ตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ครอบคลุมทั้งคนไทยและคนต่างประเทศที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย (ยกเว้น ชาวต่างประเทศที่ทํางานในสถานทูต หรือองค์กรระหว่างประเทศที่มีเอกสิทธิ์ทางการทูต) ดังนี้ /--1. กำลังแรงงานดิจิทัล (Digital Workforce) หมายถึง ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นกำลังแรงงาน ประกอบด้วย (1) ผู้มีงานทําที่ประกอบอาชีพด้านดิจิทัล (2) ผู้มีงานทําที่ไม่ได้ ประกอบอาชีพด้านดิจิทัล แต่จบการศึกษาด้านดิจิทัล (3) ผู้ว่างงานที่จบการศึกษาด้านดิจิทัล และ (4) ผู้ว่างงานที่ไม่ได้จบการศึกษาด้านดิจิทัล แต่เคยประกอบอาชีพด้านดิจิทัล /--2. กำลังคนดิจิทัล (Digital Human Capital) หมายถึง ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ประกอบด้วย (1) กำลังแรงงานดิจิทัล (Digital Workforce) (2) ผู้ที่อยู่นอกกำลังแรงงาน ที่จบการศึกษาด้านดิจิทัล และ (3) ผู้ที่อยู่นอกกำลังแรงงานที่กำลังเรียน ศึกษาอยู่ในสาขาด้านดิจิทัล /--โดยมีมาตรฐานสากลที่ใช้ในการจัดจําแนกตามคำนิยาม ดังนี้ /--1. การศึกษาด้านดิจิทัล อ้างอิงตามมาตรฐานของ International Standard Classification of Education (ISCED 1997) ขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ซึ่งมีรหัสสาขาการศึกษาคือ รหัส 48 คอมพิวเตอร์ (วิทยาการคอมพิวเตอร์ ได้แก่ การออกแบบระบบ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การประมวลผลข้อมูล ระบบเครือข่าย การพัฒนาซอฟต์แวร์ของระบบปฏิบัติการ ยกเว้นการพัฒนาฮาร์ดแวร์ ได้จัดประเภทไว้ในสาขาวิชา 52 (วิศวกรรมศาสตร์)) /--2. การประกอบอาชีพดิจิทัลอ้างอิงจากคำนิยาม ICT Specialist ตามมาตรฐานการจัด จําแนกประเภทอาชีพ International Standard Classification of Occupation, 2008 (ISCO-08) ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ซึ่งมีรหัสอาชีพ
|
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกาศใช้เมื่อ :14/05/2568
|
สาระสำคัญ |
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาระดับสิ่งปะปนของเศษกระดาษที่จะนําเข้ามา ในราชอาณาจักร เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติงานสำหรับหน่วยงานที่กำกับดูแลการนําเข้าเศษกระดาษ ที่จะนําเข้ามาในราชอาณาจักรและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อมิให้กระทบต่อกลไกการนําเศษกระดาษในราชอาณาจักรมาใช้เป็นวัตถุดิบตามแนวคิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) /--ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2565 ซึ่งกำหนดให้กรมควบคุมมลพิษมีอำนาจและหน้าที่ในการพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยี กฎหมาย เพื่อนํามาประยุกต์ใช้ในการจัดการกากของเสีย สารอันตราย คุณภาพน้ํา อากาศ ระดับเสียง และความสั่นสะเทือน และให้ความช่วยเหลือและคำปรึกษาแนะนําเกี่ยวกับการจัดการมลพิษ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ จึงอาศัยอำนาจมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ออกประกาศหลักเกณฑ์การพิจารณาระดับสิ่งปะปนของเศษกระดาษ ที่จะนําเข้ามาในราชอาณาจักร ดังรายละเอียดในภาคผนวกท้ายประกาศนี้ |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงมหาดไทย ประกาศใช้เมื่อ :29/05/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของ เจ้าพนักงานตำรวจ และมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2567 จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้/--ข้อ 1 ประกาศฉบับนี้ให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นสามสิบวันนับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา /--ข้อ 2 ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้สถานะคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบ ด้วยกฎหมายและมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรไทย ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 แก่บุคคลที่อพยพเข้ามาในราชอาณาจักรไทยและอาศัยอยู่มานาน ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2564 ข้อ 3 ให้บุคคลดังต่อไปนี้มีสิทธิได้รับสถานะเป็นคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย และมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรไทย -/--(1) บุคคลที่อพยพเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยและอาศัยอยู่เป็นเวลานานที่มิได้มีเชื้อสายไทย มิได้เกิดในราชอาณาจักรไทย และเป็นกลุ่มเป้าหมายเฉพาะชนกลุ่มน้อยและกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งคณะรัฐมนตรี มีมติรับรองสถานะให้อาศัยอยู่ถาวรในราชอาณาจักรไทยไว้แล้ว รวม 19 กลุ่ม ได้แก่ 1. กลุ่มชาวเขา 9 เผ่า 2. กลุ่มบุคคลบนพื้นที่สูงหรือชุมชนพื้นที่สูงที่อพยพเข้ามาก่อนและหลัง 3 ตุลาคม 2528 กลุ่มอดีตทหารจีนคณะชาติ 4. กลุ่มจีนฮ่ออพยพพลเรือน 5. กลุ่มจีนฮ่ออิสระ 6. กลุ่มผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่า 7. กลุ่มผู้หลบหนีเข้าเมืองจากพม่า 8. กลุ่มชาวเวียดนามอพยพ 9. กลุ่มชาวลาวอพยพ 10. กลุ่มเนปาลอพยพ 11. กลุ่มอดีตโจรจีนคอมมิวนิสต์มาลายา 12. กลุ่มไทยลื้อ 13. กลุ่มม้ง ถ้ํากระบอกที่ทำประโยชน์ 14. กลุ่มผู้หลบหนีเข้าเมืองชาวกัมพูชา 15. กลุ่มผู้อพยพและผู้หลบหนี เชื้อสายไทยจากจังหวัดเกาะกง ประเทศกัมพูชา ที่อพยพเข้ามาก่อนและหลัง 15 พฤศจิกายน 2520 16. กลุ่มผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่าเชื้อสายไทยที่อพยพเข้ามาก่อน 4 มีนาคม 2519 17. กลุ่มชาวลาว ภูเขาอพยพ 18. กลุ่มผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่าเชื้อสายไทยที่อพยพเข้ามาหลัง 9 มีนาคม 2519 และ 19. กลุ่มชาวมอแกนที่ประสบภัยสึนามิซึ่งได้รับการสำรวจจัดทำทะเบียนประวัติไว้ถึงปี พ.ศ. 2542 และที่สำรวจเพิ่มเติมตามยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล ระหว่างปี พ.ศ. 2548 ถึงปี พ.ศ. 2554/--(2) เด็กที่มีอายุไม่เกินสิบแปดปีและบุคคลที่มิได้เกิดในราชอาณาจักรไทยและกำลังเรียนอยู่ในโรงเรียนหรือสถานศึกษาหรือจบการศึกษาแล้วแต่ไม่มีสถานะที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งได้รับ การสำรวจจัดทำทะเบียนประวัติไว้ถึงปี พ.ศ. 2542 และที่สำรวจเพิ่มเติมตามยุทธศาสตร์การจัดการ ปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล ระหว่างปี พ.ศ. 2548 ถึงปี พ.ศ. 2554/--(3) คนต่างด้าวที่ถูกบุพการีทอดทิ้งหรือไม่ปรากฏบิดาและมารดา ที่มิได้เกิดในราชอาณาจักรไทย (คนไร้รากเหง้า) ซึ่งได้รับการสำรวจจัดทำทะเบียนประวัติไว้ถึงปี พ.ศ. 2542 และที่สำรวจเพิ่มเติม ตามยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล ระหว่างปี พ.ศ. 2548 ถึงปี พ.ศ. 2554 /--(4) ให้บุคคลที่ทำคุณประโยชน์แก่ประเทศที่มิได้เกิดในราชอาณาจักรไทย ซึ่งได้รับการสำรวจ จัดทำทะเบียนประวัติไว้ถึงปี พ.ศ. 2542 และที่สำรวจเพิ่มเติมตามยุทธศาสตร์การจัดการปัญหา สถานะและสิทธิของบุคคล ในระหว่างปี พ.ศ. 2548 ถึงปี พ.ศ. 2554/--ทั้งนี้ บุคคลในกลุ่มตามข้อ (1) ซึ่งเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย ภายในวันที่ 30 กันยายน 2542 และบุคคลในกลุ่มตามข้อ (2) - (4) ซึ่งเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย ภายในวันที่ 18 มกราคม 2558 แต่ไม่เคยได้รับการสำรวจจัดทำทะเบียนประวัติตามมติคณะรัฐมนตรีที่ว่าด้วยการแก้ไขปัญหาสถานะ และสิทธิของบุคคล หากบุคคลนั้นพิสูจน์และมีหลักฐานเชื่อได้ว่าเป็นบุคคลกลุ่มดังกล่าว และเป็นไปตาม เงื่อนไขของกลุ่มนั้น ๆ เมื่อได้จัดทำทะเบียนประวัติและมีเอกสารแสดงตนตามระเบียบที่ผู้อำนวยการ ทะเบียนกลางกำหนดตามมาตรา 19/2 แห่งพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 และมาตรา 38 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ การทะเบียนราษฎร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ให้มีสิทธิได้รับสถานะเป็นคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบ ด้วยกฎหมายและมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรไทยตามประกาศนี้ และการออกนอกเขตพื้นที่ควบคุมของบุคคลดังกล่าวให้นำระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการอนุญาตให้บุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ออกนอกเขตควบคุมเป็นการชั่วคราวเพื่อเข้าเรียนในสถานศึกษา พ.ศ. 2553 ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2553 และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตพื้นที่ควบคุมและการอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวก ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวออกนอกเขตพื้นที่ควบคุม ลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2559มาใช้บังคับโดยอนุโลม |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงพลังงาน ประกาศใช้เมื่อ :30/05/2568
|
สาระสำคัญ |
ด้วยกรมธุรกิจพลังงาน ได้พัฒนาและนำระบบฐานข้อมูลการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง (Trade) มาใช้ในการบริหารงานและการให้บริการในด้านการขออนุญาต จดทะเบียนเป็นผู้ค้าน้ำมัน การแจ้ง เป็นผู้ขนส่งน้ำมัน การขอความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพด้านการใช้งานของน้ำมันหล่อลื่น และการส่งแผนหรือรายงานตามกฎหมายว่าด้วยการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ค้าน้ำมันและผู้ขนส่งน้ำมัน/--ดังนั้น เพื่อให้การนำระบบฐานข้อมูลการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง (Trade) มาใช้ในการบริหารงาน และการให้บริการประชาชนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และเป็นแนวทางปฏิบัติให้แก่ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร ราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) ประกอบกับข้อ 2 (4) ของกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน พ.ศ. 2562 อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้/--หมวด 1 บททั่วไป (ข้อ 3-5)/--หมวด 2 การขออนุญาต จดทะเบียนเป็นผู้ค้าน้ำมัน แจ้งเปลี่ยนแปลงรายการ และแจ้งเลิกประกอบกิจการ (ข้อ 6-8)/--หมวด 3 การรายงานข้อมูลคามแบบแจ้ง และแบบรายงาน (ข้อ 9)/--หมวด 4 น้ำมันหล่อลื่น ส่วนที่ 1 การออกหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพด้านการใช้งานของน้ำมันหล่อลื่น (ข้อ 10-12); ส่วนที่ 2 การต่ออายุหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพด้านการใช้งานของน้ำมันหล่อลื่น (ข้อ 13-14);/--ส่วนที่ 3 การเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมรายละเอีบด ลักษณะและคุณภาพด้านการใช้งานของน้ำมันหล่อลื่น (ข้อ 15-16); ส่วนที่ 4 การยกเลิกหนังสือรับรองการให้ความเห็นชอบลักษณะและคุณภาพด้านการใช้งานของน้ำมันหล่อลื่น (ข้อ 17-18); ส่วนที่ 5 การแจ้งผลการพิจารณา (ข้อ 19) ; ส่วนที่ 6 การรายงานข้อมูลการจัดหา การจำหน่าย และยอดคงเหลือของน้ำมันหล่อลื่นสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน 4 จังหวะ และเครื่องยนต์ดีเซลที่ได้รับความเห็นชอบ (ข้อ 20)/-- หมวด 5 การตรวจสอบคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิง (ข้อ 21)/-- หมวด 6 การชำระค่าธรรมเนียมและการออกใบเสร็จรับเงิน (ข้อ 22-23) |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกาศใช้เมื่อ :08/07/2568
|
สาระสำคัญ |
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการกำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากบ่อเพาะเลี้ยง สัตว์น้ำจืดให้เหมาะสมกับสถานการณ์การเลี้ยงสัตว์น้ำจืด เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อมในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป และสอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องในปัจจุบัน/--อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 55 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยคําแนะนําของคณะกรรมการควบคุมมลพิษ และโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม แห่งชาติ ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้/--ข้อ 1 ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนด มาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 /--ข้อ 4 กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ดังต่อไปนี้ /--ค่ามาตรฐานประเภท ก -- 1. ค่าความเป็นกรดและด่าง (pH) 6.0 - 9.0 ; 2. ค่าความเค็ม (Salinity) 1) กรณีระบายลงแหล่งน้ำจืด น้ำทิ้งจะต้องมีค่าความเค็ม ไม่เกิน 1 ส่วนในพันส่วน ; 2) กรณีระบายลงแหล่งน้ำที่มีค่าความเค็ม โดยธรรมชาติให้ระบาย ทิ้งได้อีก ไม่เกินร้อยละ50 ของแหล่งรองรับ ทิ้งบริเวณนั้น ; 3 ค่าบีโอดี (Biochemical Oxygen Demand) ไม่เกิน 20 มิลลิกรัมต่อลิตร ; 4. ค่าของแข็งแขวนลอยทั้งหมด (Total Suspended Solids) ไม่เกิน 80 มิลลิกรัมต่อลิตร ; 5. ค่าแอมโมเนียรวม (Total Ammonia) ไม่เกิน 1.1 มิลลิกรัมไนโตรเจนต่อลิตร ; 6. ค่าไนโตรเจนรวม (Total Nitrogen) ไม่เกิน 4 มิลลิกรัมไนโตรเจนต่อลิตร ; 7. ค่าฟอสฟอรัสรวม (Total Phosphorus) ไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัมฟอสฟอรัสต่อลิตร /--ค่ามาตรฐานประเภท ข --1. ค่าความเป็นกรดและด่าง (pH) 6.0 - 9.0 ; 2. ค่าความเค็ม (Salinity) 1) กรณีระบายลงแหล่งน้ำจืด น้ำทิ้งจะต้องมีค่าความเค็ม ไม่เกิน 1 ส่วนในพันส่วน ; 2) กรณีระบายลงแหล่งน้ำที่มีค่าความเค็ม โดยธรรมชาติให้ระบาย ทิ้งได้อีก ไม่เกินร้อยละ50 ของแหล่งรองรับ ทิ้งบริเวณนั้น ; 3 ค่าบีโอดี (Biochemical Oxygen Demand) ไม่เกิน 25 มิลลิกรัมต่อลิตร ; 4. ค่าของแข็งแขวนลอยทั้งหมด (Total Suspended Solids) ไม่เกิน 80 มิลลิกรัมต่อลิตร ; 5. ค่าแอมโมเนียรวม (Total Ammonia) ไม่เกิน 1.1 มิลลิกรัมไนโตรเจนต่อลิตร ; 6. ค่าไนโตรเจนรวม (Total Nitrogen) ไม่เกิน 4 มิลลิกรัมไนโตรเจนต่อลิตร ; 7. ค่าฟอสฟอรัสรวม (Total Phosphorus) ไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัมฟอสฟอรัสต่อลิตร /--ค่ามาตรฐานประเภท ค --1. ค่าความเป็นกรดและด่าง (pH) 6.0 - 9.0 ; 2. ค่าความเค็ม (Salinity) 1) กรณีระบายลงแหล่งน้ำจืด น้ำทิ้งจะต้องมีค่าความเค็ม ไม่เกิน 1 ส่วนในพันส่วน ; 2) กรณีระบายลงแหล่งน้ำที่มีค่าความเค็ม โดยธรรมชาติให้ระบาย ทิ้งได้อีก ไม่เกินร้อยละ50 ของแหล่งรองรับ ทิ้งบริเวณนั้น ; 3 ค่าบีโอดี (Biochemical Oxygen Demand) ไม่เกิน -30 มิลลิกรัมต่อลิตร ; 4. ค่าของแข็งแขวนลอยทั้งหมด (Total Suspended Solids) ไม่เกิน 80 มิลลิกรัมต่อลิตร ; 5. ค่าแอมโมเนียรวม (Total Ammonia) ไม่เกิน 1.1 มิลลิกรัมไนโตรเจนต่อลิตร ; 6. ค่าไนโตรเจนรวม (Total Nitrogen) ไม่เกิน 5 มิลลิกรัมไนโตรเจนต่อลิตร ; 7. ค่าฟอสฟอรัสรวม (Total Phosphorus) ไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัมฟอสฟอรัสต่อลิตร |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกาศใช้เมื่อ :08/07/2568
|
สาระสำคัญ |
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการกำหนดให้บ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือออกสู่สิ่งแวดล้อม ให้เหมาะสม กับสถานการณ์การเลี้ยงสัตว์น้ำจืด เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อมในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปและสอดคล้องกับ กฎหมายที่เกี่ยวข้องในปัจจุบัน ดังนั้น เพื่อเป็นการควบคุมมลพิษที่เกิดจากบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด และป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดต่อแหล่งน้ำสาธารณะหรือสิ่งแวดล้อม/-อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยคําแนะนําของคณะกรรมการควบคุมมลพิษ ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้/--ข้อ ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดให้ บ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ หรือออกสู่สิ่งแวดล้อม ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 /-- ข้อ 2 ในประกาศนี้--บ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด หมายความว่า พื้นที่บ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด เพื่อใช้เพาะฟัก อนุบาลหรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง และรวมถึงพื้นที่บ่อพักน้ำคลองหรือส่งน้ำที่ใช้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดด้วย ; บ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดประเภท ก หมายความว่า บ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ซึ่งมีพื้นที่ บ่อเพาะเลี้ยงตั้งแต่ ไร่ขึ้นไป หรือบ่อเพาะเลี้ยงจระเข้หรือบ่อเพาะเลี้ยงปลาดุก ซึ่งมีพื้นที่ บ่อเพาะเลี้ยงตั้งแต่ 1 ไร่ขึ้นไป 1 ; บ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดประเภท ข หมายความว่า บ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ซึ่งมีพื้นที่ บ่อเพาะเลี้ยงตั้งแต่ 5 ไร่ แต่ไม่ถึง 10 ไร่ ; บ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดประเภท ค หมายความว่า บ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ซึ่งมีพื้นที่ บ่อเพาะเลี้ยงตั้งแต่ 1 ไร่ แต่ไม่ถึง 5 ไร่ /--ข้อ 3 ให้บ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดตามข้อ 2 เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุม การปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือออกสู่สิ่งแวดล้อม /--ข้อ 4 ห้ามมิให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดตามข้อ 2 ปล่อยน้ำเสีย ลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือออกสู่สิ่งแวดล้อม เว้นแต่จะได้ทำการบําบัดน้ำเสียให้เป็นไปตามมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด พ.ศ. 2568 แต่ทั้งนี้ ห้ามมิให้ใช้วิธีทำให้เจือจาง (Dilution) |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงมหาดไทย ประกาศใช้เมื่อ :12/06/2568
|
สาระสำคัญ |
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการขอยกเว้นค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสียสำหรับแหล่งกำเนิดน้ำเสียที่มีระบบบำบัดน้ำเสีย ซึ่งสามารถบำบัดน้ำเสียจนได้น้ำทิ้ง/--อาศัยอำนาจตามความในข้อ 7 แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การจัดเก็บ ค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย พ.ศ. 2547 และข้อ 11 แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้/--ข้อ 5 แหล่งกำเนิดน้ำเสียที่มีระบบบำบัดน้ำเสีย และสามารถบำบัดน้ำเสียจนได้น้ำทิ้ง ที่ไหลผ่านลงสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะ หรือท่อรวบรวมน้ำเสียของกรุงเทพมหานคร ให้เจ้าของหรือ ผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดน้ำเสียยื่นคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย พร้อมแนบรายงานผล การตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำทิ้งจากหน่วยตรวจวิเคราะห์ของรัฐ หรือหน่วยตรวจวิเคราะห์ของเอกชนสองเดือนย้อนหลังนับจากเดือนที่ยื่นคำร้อง รายงานผลทั้งสองครั้งต้องห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน/การยื่นคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสียแบ่งเป็น 2 กรณี ดังต่อไปนี้/--(1) กรณียื่นคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสียก่อนประกาศการจัดเก็บค่าธรรมเนียม บำบัดน้ำเสียมีผลใช้บังคับ และพนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาคำร้องแล้วปรากฏว่าเอกสารครบถ้วนถูกต้อง และได้แจ้งให้ผู้ยื่นคำร้องทราบแล้ว ให้ได้รับการยกเว้นการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย ; (2) กรณียื่นคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสียภายหลังประกาศการจัดเก็บเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาคำร้องแล้วปรากฏว่าเอกสาร ให้ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสียค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสียมีผลใช้บังคับ ครบถ้วนถูกต้องและได้แจ้งให้ผู้ยื่นคำร้องทราบในเดือนใด ในรอบถัดไปของใบแจ้งชําระค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงมหาดไทย ประกาศใช้เมื่อ :12/06/2568
|
สาระสำคัญ |
"โดยที่เป็นการสมควรกำหนดระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข การขอรับบริการบำบัดน้ำเสีย การระบายน้ำเสียลงสู่ระบบรวบรวมน้ำเสีย และการระงับการให้บริการ บำบัดน้ำเสีย /--อาศัยอำนาจตามความในข้อ 11 แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การจัดเก็บ ค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ /--ข้อ 5 น้ำเสียจากแหล่งกำเนิดน้ำเสีย ที่ผู้รับบริการระบายลงสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะ หรือท่อรวบรวมน้ำเสียของกรุงเทพมหานครจะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ --(1) ค่าบีโอดี (Biochemical Oxygen Demand) ไม่เกิน 150 มิลลิกรัมต่อลิตร ; (2) ค่าความเป็นกรดและด่าง (pH) อยู่ระหว่าง 6 - 9; (3) ค่าปริมาณสารแขวนลอย (Suspended Solid) ไม่เกิน 150 มิลลิกรัมต่อลิตร ; (4) น้ำมันและไขมัน (Fat Oil and Grease) ไม่เกิน 20 มิลลิกรัมต่อลิตร ; (5) กรณีน้ำเสียอุตสาหกรรม โลหะหนักต้องไม่เกินค่ามาตรฐานตามประกาศที่กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนด /--ข้อ 6 การต่อเชื่อมท่อน้ำเสีย ให้ใช้ท่อน้ำเสียในการก่อสร้าง ดังต่อไปนี้--(1) ท่อดินเผาเคลือบระบายน้ำโสโครก คุณภาพตามมาตรฐาน มอก. 189 ชั้นคุณภาพ ข.; (2) ท่อเหล็กหล่อสำหรับระบายน้ำโสโครก น้ำทิ้ง และระบายอากาศตามมาตรฐาน
มอก. 533 ประเภทผนังท่อหนา ; (3) ท่อ พีพี สำหรับระบบสุขาภิบาลตามมาตรฐาน มอก. 1145 ชั้นคุณภาพ ไม่ต่ำกว่า PN10 ; (4) ท่อ พีอี สำหรับระบบสุขาภิบาลตามมาตรฐาน มอก. 982 ชั้นคุณภาพ ไม่ต่ำกว่า PNoo ; (5) ท่อ พีวีซี สำหรับระบบสุขาภิบาลตามมาตรฐาน มอก. 17 ชั้นคุณภาพ ไม่ต่ำกว่า 4.5 ; (6) ท่อซีเมนต์ใยหินตามมาตรฐาน มอก. 622 สำหรับงานระบายน้ำทั่วไป; (7) ท่อเหล็กอาบสังกะสีตามมาตรฐาน มอก. 277 ประเภทที่ 2 ; (8) ท่อน้ำเสียชนิดอื่นใดที่ได้รับมาตรฐาน มอก. หรือมีผลการทดสอบและรับรองจาก หน่วยงานของรัฐหรือสถาบันการศึกษาว่ามีคุณภาพเทียบเท่าหรือดีกว่ามาตรฐาน มอก. /--ทั้งนี้ ท่อน้ำเสียที่กำหนดตามวรรคหนึ่งต้องเป็นไปตามหลักวิศวกรรม โดยกรุงเทพมหานคร จะพิจารณาจากลักษณะของอาคาร สถานที่ ขนาดท่อ ระยะทาง และอื่น ๆ /--ข้อ 7 การระบายน้ำเสียลงสู่ระบบรวบรวมน้ำเสีย ให้ดำเนินการตามคุณลักษณะของน้ำเสีย--(1) ให้ระบายน้ำเสียโดยมีการแยกขยะออกจากน้ำเสีย ; (2) ให้ระบายน้ำเสียผ่านบ่อดักไขมัน กรณีที่มีน้ำมัน ไขมัน ; (3) ให้ระบายน้ำเสียผ่านบ่อเกรอะ กรณีที่มีสิ่งปฏิกูลต่างๆ ; (4) ให้ระบายน้ำเสียผ่านบ่อหน่วงน้ำเสียก่อนระบายลงสู่บ่อพักท่อระบายน้ำสาธารณะ /--ข้อ 8 กรุงเทพมหานครจะพิจารณาคำขอรับบริการบำบัดน้ำเสียตามความเหมาะสม ของสภาพพื้นที่และหลักการทางวิศวกรรม แบ่งเป็น 2 กรณี ดังต่อไปนี้--(1) กรณีต่อเชื่อมท่อน้ำเสียจากอาคารเข้าสู่บ่อพักท่อรวบรวมน้ำเสียของกรุงเทพมหานครโดยตรง จะสามารถระบายน้ำเสียได้ตลอดเวลา ตามรูปแบบการต่อเชื่อมท่อน้ำเสียที่กรุงเทพมหานครกำหนด ตามคู่มือการขอรับบริการบำบัดน้ำเสีย ; (2) กรณีต่อเชื่อมท่อน้ำเสียจากอาคารลงสู่บ่อพักท่อระบายน้ำสาธารณะของกรุงเทพมหานครจะต้องจัดให้มีบ่อหน่วงน้ำเสียจึงสามารถระบายน้ำเสียได้ และมิให้ระบายน้ำเสียออกมาในช่วงฝนตก ทั้งนี้ ผู้รับบริการต้องได้รับอนุญาตระบายน้ำทิ้ง/เชื่อมท่อระบายน้ำ ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ 4 ให้ผู้รับบริการยื่นคำขอรับบริการบำบัดน้ำเสียและแนบเอกสารหลักฐาน กรณีคำขอรับบริการ ไม่ถูกต้องครบถ้วนให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งผู้รับบริการแก้ไขหรือยื่นเพิ่มเติมให้ครบถ้วน ภายในสามสิบวัน" |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงมหาดไทย ประกาศใช้เมื่อ :12/06/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในข้อ 6 ข้อ 6/1 และข้อ 11 แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบัญญัติ กรุงเทพมหานคร เรื่อง การจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ /--ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดน้ำเสียชําระค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสียเป็นรายเดือน 4. ให้จัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสียจากแหล่งกำเนิดน้ำเสียตามที่กำหนดในบัญชี อัตราค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสียท้ายประกาศนี้ ดังต่อไปนี้ --4.1 แหล่งกำเนิดน้ำเสียประเภทที่ 1 หรือแหล่งกำเนิดน้ำเสียประเภทที่ 2 ซึ่งเจ้าของ หรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดน้ำเสียมีความประสงค์จะขอรับบริการบำบัดน้ำเสียรวมของกรุงเทพมหานคร /--4.2 แหล่งกำเนิดน้ำเสียประเภทที่ 1 (ข) หรือแหล่งกำเนิดน้ำเสียประเภทที่ 2 ซึ่งเจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดน้ำเสียได้รับบริการบำบัดน้ำเสียรวมของกรุงเทพมหานคร/--4.3 แหล่งกำเนิดน้ำเสียประเภทที่ 3 การแบ่งประเภทแหล่งกำเนิดน้ำเสียของสถานประกอบการตามแหล่งกำเนิดน้ำเสียประเภทที่ 2 (จ) และแหล่งกำเนิดน้ำเสียประเภทที่ 3 (ค) ในเดือนแรกให้ใช้ค่าปริมาณการใช้น้ำเฉลี่ยย้อนหลังหนึ่งปี ก่อนการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย ในกรณีที่ประกอบการไม่ถึงหนึ่งปี ให้ใช้ค่าเฉลี่ย ตามระยะเวลาที่ประกอบการ และตั้งแต่เดือนที่สองเป็นต้นไปจะแบ่งประเภทแหล่งกำเนิดน้ำเสียของสถานประกอบการตามข้อมูลปริมาณการใช้น้ำรายเดือน |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงมหาดไทย ประกาศใช้เมื่อ :12/06/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในข้อ 5 แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การจัดเก็บ ค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย พ.ศ. 2547 และข้อ 11 แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงออกประกาศกำหนดเขตพื้นที่ที่เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดน้ำเสียต้องชําระค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงมหาดไทย ประกาศใช้เมื่อ :12/06/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในข้อ 11 แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การจัดเก็บ ค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้/--2. แหล่งกำเนิดน้ำเสียที่มีปริมาณการใช้น้ำและปริมาณน้ำเสียไม่สัมพันธ์กัน ได้แก่ โรงงาน ประกอบกิจการเกี่ยวกับการทำ ตัด ซอย บด หรือย่อยน้ำแข็ง และโรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับน้ำดื่ม หรือน้ำแร่ ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดน้ำเสียสามารถติดตั้งอุปกรณ์วัดปริมาณน้ำเสีย โดยให้ใช้ค่าปริมาณน้าเสียที่วัดได้จากอุปกรณ์วัดปริมาณน้ำเสียนั้น และให้ยื่นคำขอติดตั้งอุปกรณ์วัด ปริมาณน้ำเสียจากแหล่งกำเนิดน้ำเสียและแนบเอกสารหลักฐาน/--3. กรณีคำขอติดตั้งอุปกรณ์วัดปริมาณน้ำเสียจากแหล่งกำเนิดน้ำเสียไม่ถูกต้องครบถ้วน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งผู้ยื่นคำขอแก้ไขหรือยื่นเพิ่มเติมให้ครบถ้วนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง และเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการตรวจสอบสถานที่และรายการเอกสารหลักฐาน หากถูกต้องครบถ้วนแล้ว ให้มีหนังสือแจ้งผู้ยื่นคำขอทราบ โดยให้มีผลอนุมัติการวัดปริมาณน้ำเสียในรอบถัดไปของใบแจ้งชําระค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย/--4. ให้ผู้ยื่นคำขอติดตั้งอุปกรณ์วัดปริมาณน้ำเสีย และทดสอบประสิทธิภาพการทำงาน ให้ใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ โดยต้องได้รับการตรวจสอบรับรองความถูกต้องเที่ยงตรงทุกหกเดือนจากกระทรวงพาณิชย์หรือสถาบันหรือหน่วยงานที่เชื่อถือได้ โดยผู้ยื่นคำขอเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเอง และแจ้งผลการตรวจสอบให้กรุงเทพมหานครทราบ ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอไม่แจ้งผลการตรวจสอบดังกล่าวให้คำนวณจากปริมาณการใช้น้ำประปาหรือปริมาณน้ำบาดาลสูงสุดที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต แล้วแต่กรณี /--5. ให้ผู้ยื่นคำขอที่ติดตั้งอุปกรณ์วัดปริมาณน้ำเสียรายงานปริมาณน้ำเสียโดยติดตั้งอุปกรณ์วัดปริมาณน้ำเสียจากแหล่งกำเนิดน้ำเสียไม่เกินวันที่ยี่สิบห้าของทุกเดือน ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอไม่อาจรายงาน ปริมาณน้ำเสียโดยติดตั้งอุปกรณ์วัดปริมาณน้ำเสียได้ด้วยเหตุอื่นใด ให้คำนวณจากปริมาณการใช้ นํ้าประปาหรือปริมาณนํ้าบาดาลสูงสุดที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต แล้วแต่กรณี |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงมหาดไทย ประกาศใช้เมื่อ :12/06/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในข้อ 8 และข้อ 11 แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้/--2. ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดน้ำเสียนำใบแจ้งชําระค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย ไปชําระค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสียแก่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ที่พนักงานเจ้าหน้าที่มอบหมายตามจำนวนเงิน ที่กรุงเทพมหานครเรียกเก็บ ณ สถานที่หรือโดยวิธีการ ดังต่อไปนี้--2.1 จุดบริการรับชําระเงินของกรุงเทพมหานคร ; 2.1.1 จุดบริการรับชําระเงิน ณ ฝ่ายการคลัง สำนักงานเลขานุการ สำนักการระบายน้ำศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ดินแดง ; 2.1.2 จุดบริการรับชําระเงิน ณ สำนักงานเขตทุกเขต / 2.2 จุดบริการรับชําระเงินของธนาคารกรุงไทย ทุกสาขาทั่วประเทศ/2.3 ธนาคารที่ให้บริการชําระบิลข้ามธนาคาร (Cross-bank Bill Payment) ผ่านวิธีการ ทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ บริการธนาคารบนอินเทอร์เน็ต (Internet Banking) บริการธนาคาร บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Banking) และเครื่องรับ - จ่ายเงินอัตโนมัติ (Automatic Teller Machine : ATM) โดยสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ให้บริการชําระบิลข้ามธนาคารได้จากเว็บไซต์ ของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งค่าธรรมเนียมเป็นไปตามเงื่อนไขและข้อกำหนดของแต่ละธนาคาร หรือผู้ให้บริการ/--3.การออกใบเสร็จรับเงิน ให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้--3.1 เมื่อได้รับค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสียตามข้อ 2.1 แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือ ผู้ที่พนักงานเจ้าหน้าที่มอบหมายมอบใบเสร็จรับเงินแก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดน้ำเสียไว้เป็นหลักฐาน ; 3.2 เมื่อได้รับค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสียตามข้อ 2.2 และข้อ 2.3 แล้ว กรุงเทพมหานครจะจัดส่งใบเสร็จรับเงินให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดน้ำเสียในภายหลังหรือโดยวิธีการอื่น ตามที่ปลัดกรุงเทพมหานครกำาหนด |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงมหาดไทย ประกาศใช้เมื่อ :12/06/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในข้อ 6/1 และข้อ 11 แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ /--2. ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับแหล่งกำเนิดน้ำเสียทุกประเภทที่ใช้น้ำบาดาล ทั้งกรณีที่ใช้เครื่องอุปกรณ์วัดปริมาณน้ำที่ใช้ได้และไม่อาจใช้เครื่องอุปกรณ์วัดได้/---3. ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดน้ำเสียที่ใช้น้ำบาดาลยื่นคำขอรายงานปริมาณการใช้น้ำและแนบเอกสารหลักฐาน/--4. กรณีคำขอรายงานปริมาณการใช้น้ำไม่ถูกต้องครบถ้วนให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งผู้ยื่นคำขอแก้ไขหรือยื่นเพิ่มเติมให้ครบถ้วนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง และเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการ ตรวจสอบสถานทแ ที่และเอกสารหลักฐาน หากถูกต้องครบถ้วนแล้ว ให้มีหนังสือแจ้งผู้ยื่นคำขอทราบ/--5. ผู้รับใบอนุญาตใช้น้ำบาดาลที่ติดตั้งอุปกรณ์วัดปริมาณน้ำ ให้รายงานปริมาณการใช้น้ำ โดยใช้ค่าน้ำบาดาลตามปริมาณน้ำบาดาลที่วัดได้จากอุปกรณ์วัดปริมาณน้ำนั้น ไม่เกินวันที่ยี่สิบห้า ของทุกเดือน ในกรณีที่ไม่อาจรายงานปริมาณการใช้น้ำบาดาลได้ด้วยเหตุอื่นใด ให้ใช้ค่าน้ำบาดาลตามปริมาณน้ำบาดาลสูงสุดที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต /--6. ผู้รับใบอนุญาตใช้น้ำบาดาลที่ไม่ได้ติดตั้งอุปกรณ์วัดปริมาณน้ำ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ คำนวณปริมาณน้ำที่ใช้ตามปริมาณน้ำบาดาลสูงสุดที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต โดยไม่ต้องรายงานปริมาณการใช้น้ำรายเดือน /--7. การยื่นคำขอและรายงานตามประกาศนี้ ให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิบัติราชการ ทางอิเล็กทรอนิกส์ ในกรณีที่มีเหตุไม่สามารถดำเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ ให้ดำเนินการ ณ สถานที่หรือโดยวิธีการ ดังต่อไปนี้/--7.1 ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานจัดการคุณภาพน้ำ สำนักการระบายน้ำ ; 7.2 สถานที่หรือโดยวิธีการอื่นตามที่ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนด/--8. คำขอรายงานปริมาณการใช้น้ำ แบบรายงานปริมาณการใช้น้ำบาดาลโดยติดตั้งอุปกรณ์ วัดปริมาณน้ำ และหนังสือแจ้ง ให้เป็นไปตามแบบที่ปลัดกรุงเทพมหานครกำหนด |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ประกาศใช้เมื่อ :13/05/2568
|
สาระสำคัญ |
แก้ไขปรับปรุงระเบียบสำนักงานประกันสังคมว่าด้วยการดําเนินคดีและการเปรียบเทียบความผิด เพื่อให้การดําเนินคดีและการเปรียบเทียบความผิดตามมาตรา 102 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 และตามมาตรา 66 แห่งพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ/--อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม วางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้/--ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2568 เป็นต้นไป/--ข้อ 3 ให้ยกเลิกระเบียบสำนักงานประกันสังคมว่าด้วยการดําเนินคดีและการเปรียบเทียบความผิด พ.ศ. 2537 |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ประกาศใช้เมื่อ :26/05/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 47 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสำนักงานประกันสังคม ว่าด้วยการขอรับเงินสมทบ ที่นำส่งไว้เกินจำนวนที่ต้องชำระคืน พ.ศ. 2560 เพื่อให้การปฏิบัติงานในการคืนเงินสมทบ เป็นไปด้วยความรวดเร็ว คล่องตัวและมีประสิทธิภาพ อันจะเป็นประโยชน์ต่อนายจ้างและผู้ประกันตน ซึ่งได้รับผลกระทบจากการประสบภัยพิบัติในกรณีวาตภัยและอุทกภัย ตามประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขให้ลดหย่อนการออกเงินสมทบของนายจ้างและ ผู้ประกันตนในท้องที่ที่ประสบภัยพิบัติอย่างร้ายแรง พ.ศ. 2567 ลงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2567 และประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขให้ลดหย่อนการออกเงินสมทบ ของนายจ้างและผู้ประกันตนในท้องที่ที่ประสบภัยพิบัติอย่างร้ายแรง พ.ศ. 2568 ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 ดังต่อไปนี้/--ความในข้อ 6 และข้อ 8/1 |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ประกาศใช้เมื่อ :27/06/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7 วรรคหนึ่ง และมาตรา 79 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ /--ข้อ 1 กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป /--ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 1 แห่งกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และอัตรา การได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน--(1) ร้อยละหกสิบของค่าจ้างรายวันสำหรับการว่างงานเพราะเหตุถูกเลิกจ้าง โดยให้ได้รับ ครั้งละไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวัน |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ประกาศใช้เมื่อ :25/06/2568
|
สาระสำคัญ |
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราค่าบริการทางการแพทย์ เพื่อให้ผู้ประกันตน ที่เจ็บป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง และโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งมีความจำเป็นต้องได้รับการรักษา ด้วยการทำหัตถการที่กำหนด เข้าถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ลดระยะเวลาการรอคอย ลดภาวะแทรกซ้อน ไม่ให้อาการของโรคมีความรุนแรง และสามารถเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ประกันตนให้ดีขึ้น ตามมติคณะกรรมการการแพทย์ ในการประชุมครั้งที่ 2/2568 เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2568 โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการประกันสังคม (ชุดที่ 14) ในการประชุมครั้งที่ 6/2568 เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2568 /--อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 15 (2) และมาตรา 63 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558 คณะกรรมการการแพทย์ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการประกันสังคม จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ /--ข้อ 1 ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2568 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2568 /--ข้อ 2 ในประกาศนี้--สำนักงาน หมายความว่า สำนักงานประกันสังคม ; สถานพยาบาล หมายความว่า สถานพยาบาลที่ทำความตกลงให้บริการทางการแพทย์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงการรักษาของผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม ตามที่สำนักงานกำหนด /--ข้อ 3 ให้สำนักงานจ่ายค่าบริการทางการแพทย์แก่สถานพยาบาลที่ให้การรักษาผู้ประกันตน ประเภทผู้ป่วยใน ด้วยการทำหัตถการ ดังนี้ --(1) หัตถการโรคหลอดเลือดสมอง ; (2) หัตถการโรคหัวใจและหลอดเลือด /--การทำหัตถการตาม (1) และ (2) จ่ายโดยคํานวณตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (Diagnosis Related Group : DRGs) ที่มีค่าน้ําหนักสัมพัทธ์ปรับตามวันนอน (Adjusted Relative weight : AdjRW) ในอัตราหนึ่งหมื่นห้าพันบาทต่อหนึ่งน้ําหนักสัมพัทธ์ปรับตามวันนอน (Adjusted Relative weight : AdjRW) /--การทำหัตถการ (2) จ่ายตามแผนการรักษาแบบเหมาจ่ายรายครั้งของการรักษา (Package) ซึ่งครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการรักษาภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ประกันตนขณะที่ทำการรักษาหรือยังอยู่ในช่วงพักรักษาตัวในสถานพยาบาล /--ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และอัตราแนบท้ายประกาศฉบับนี้ |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ประกาศใช้เมื่อ :25/06/2568
|
สาระสำคัญ |
โดยที่เป็นการสมควรดำเนินการตามประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติ ประกันสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราค่าบริการทางการแพทย์กรณีการรักษาผู้ประกันตนที่สูญเสียดวงตา โดยการผ่าตัดใส่ลูกตาเทียมเฉพาะบุคคล ลงวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2567 เพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์ ที่เป็นนวัตกรรมสำหรับผู้ประกันตน ตามมติคณะกรรมการการแพทย์ ในการประชุมครั้งที่ 13/2567 เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2567 โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการประกันสังคม (ชุดที่ 14) ในการประชุมครั้งที่ 6/2568 เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2568 /--อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 15 (2) และมาตรา 63 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558 คณะกรรมการการแพทย์โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการประกันสังคม จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2568 ถึงวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2569 /--ข้อ 2 ในประกาศนี้ --สำนักงาน หมายความว่า สำนักงานประกันสังคม ; สถานพยาบาล หมายความว่า สถานพยาบาลที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานกรณีการรักษา ผู้ประกันตนที่สูญเสียดวงตาโดยการผ่าตัดใส่ลูกตาเทียมเฉพาะบุคคล ตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานกำหนด แนบท้ายประกาศนี้ โดยผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการแพทย์ หรือผู้ที่คณะกรรมการการแพทย์มอบหมาย /---ข้อ 3 ผู้ประกันตนที่เข้ารับบริการทางการแพทย์จะต้องเป็นผู้ที่มีภาวะของการสูญเสียดวงตา ดังนี้ --(1) ผู้ป่วยตาฝ่อโดยกำเนิด ; (2) ผู้ป่วยตาฝ่อหลังลูกตาแตก ; (3) ผู้ป่วยภายหลังการผ่าตัดนําลูกตาออก /--ข้อ 4 ให้สำนักงานจ่ายค่าบริการทางการแพทย์แก่สถานพยาบาล ดังนี้--(1) ค่าตรวจประเมินก่อนการเข้ารับบริการผ่าตัดใส่ลูกตาเทียมเฉพาะบุคคลเป็นค่าตรวจ ค่าลองตาปลอม ค่าวัดระดับการมองเห็น ค่าเครื่องตรวจตา และค่าน้ําตาเทียม ในอัตราเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 500 บาทต่อครั้ง ; (2) ค่าบริการสำหรับการพิมพ์ตาปลอม ในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 500 บาท; (3) ค่าบริการในวันรับตาปลอม ในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 500 |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงสาธารณสุข ประกาศใช้เมื่อ :23/05/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในข้อ 8 แห่งกฎกระทรวงกำหนดส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ยาสูบและสารที่เกิดจากการเผาไหม้ของส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ยาสูบประเภทบุหรี่ซิกาแรตและบุหรี่ซิการ์ การแจ้ง และการออกใบรับรอง พ.ศ. 2567 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ /-ข้อ 3 ผลิตภัณฑ์ยาสูบประเภทบุหรี่ซิกาแรต ต้องได้รับใบรับรองการตรวจวิเคราะห์ จากห้องปฏิบัติการที่ได้การรับรองตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 และให้ใช้วิธีการตรวจวิเคราะห์ตามมาตรฐาน ของเครือข่ายห้องปฏิบัติการยาสูบขององค์การอนามัยโลก (WHO Tobacco Laboratory Network: TobLabNet) หรือเทียบเท่า/--ข้อ 4 ผลิตภัณฑ์ยาสูบประเภทบุหรี่ซิการ์ ต้องได้รับใบรับรองการตรวจวิเคราะห์ จากห้องปฏิบัติการที่ได้การรับรองตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 และให้ใช้วิธีการตรวจวิเคราะห์ ตามมาตรฐานของสมาคมวิทยาศาสตร์ยาสูบนานาชาติ (Cooperation Centre for Scientific Research Reactive to Tobacco: CORESTA) หรือเทียบเท่า /--ข้อ 5 ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามประกาศนี้ ให้อธิบดีกรมควบคุมโรค เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงมหาดไทย ประกาศใช้เมื่อ :23/05/2568
|
สาระสำคัญ |
โดยที่เป็นการสมควรให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนดอนแสลบ จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อใช้เป็นแนวทาง และบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบทในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ และสภาพแวดล้อม ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการผังเมือง/--อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง และมาตรา 33 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้/--ข้อ 3 ให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลดอนแสลบ อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายประกาศนี้ |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงมหาดไทย ประกาศใช้เมื่อ :27/05/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง มาตรา 33 วรรคหนึ่ง และมาตรา 111 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวม จังหวัดอ่างทอง พ.ศ. 2558 เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินและแก้ไขเพิ่มเติมบัญชีท้ายกฎกระทรวง เพื่อกำหนดให้การประกอบกิจการโรงงานบางประเภท ชนิด และจำพวกสามารถดําเนินการได้ในที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม เพื่อแปรรูปการเกษตรแบบครบวงจรในพื้นที่ให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจ และเหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน ดังต่อไปนี้ -ความในวรรคหนึ่ง ของข้อ 9 และความในลําดับที่ 2 ลําดับที่ 9 ลําดับที่ ลําดับที่ 47 และลําดับที่ 92 ของที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม แห่งบัญชีท้ายกฎกระทรวง |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงมหาดไทย ประกาศใช้เมื่อ :18/06/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง และมาตรา 33 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติ การผังเมือง พ.ศ. 2562 ให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนโคกตูม จังหวัดลพบุรี เพื่อใช้เป็นแนวทาง ในการพัฒนาและการดำรงรักษาเมือง และบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบท ในด้านการใช้ประโยชน์ในที่ดิน การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะและสภาพแวดล้อม ทั้งนี้ เพื่อให้ บรรลุวัตถุประสงค์ของการผังเมือง |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงมหาดไทย ประกาศใช้เมื่อ :19/06/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง และมาตรา 33 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติ การผังเมือง พ.ศ. 2562 ให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและการดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบทในด้านการใช้ประโยชน์ ในทรัพย์สิน การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ และสภาพแวดล้อม ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการผังเมือง |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงมหาดไทย ประกาศใช้เมื่อ :24/06/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง มาตรา 33 วรรคหนึ่ง และมาตรา 111 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. 2558 เพื่อเพิ่มเติมข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินให้สามารถขยายพื้นที่และกำลังการผลิต ของโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการอยู่ก่อนวันที่กฎกระทรวงดังกล่าวมีผลใช้บังคับและ ยังประกอบกิจการอยู่ และเพิ่มเติมประเภท ชนิด และจำพวกของโรงงานที่ให้ประกอบกิจการ ท้ายประกาศ ในที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม เพื่อรองรับการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมเป้าหมาย ในกลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร กลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการเกษตรให้เหมาะสมกับ สภาพการณ์และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน ดังต่อไปนี้ ความใน (1) ของวรรคสอง ของข้อ 8 และประเภท ชนิด และจำพวกของโรงงานในบัญชีท้ายกฎกระทรวง |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงอุตสาหกรรม ประกาศใช้เมื่อ :23/05/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 17 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 และมาตรา 58 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ /--ข้อ 1 กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป /--ข้อ 2 ให้ยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเข็มพืดเหล็กกล้ารีดร้อน ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. 2563 /--ข้อ 3 ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเข็มพืดเหล็กกล้ารีดร้อนต้องเป็นไปตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 1390 - 2566 ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เข็มพืดเหล็กกล้ารีดร้อน พ.ศ. 2567 ลงวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2567 |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงอุตสาหกรรม ประกาศใช้เมื่อ :05/06/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 13 (1) แห่งพระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. 2551 คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานด้านการตรวจสอบและรับรอง จึงออกประกาศกำหนดมาตรฐานการตรวจสอบ และรับรองแห่งชาติ การตรวจสอบและรับรอง - แนวทางสําหรับการใช้วิธีการประเมินระยะไกลในการประเมินระบบการจัดการ มาตรฐานเลขที่ มตช. 17012-2558 ดังมีรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงอุตสาหกรรม ประกาศใช้เมื่อ :05/06/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 13 (1) แห่งพระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. 2551 คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานด้านการตรวจสอบและรับรอง จึงออกประกาศกำหนดมาตรฐานการตรวจสอบ และรับรองแห่งชาติ การตรวจสอบและรับรอง - แนวทางสำหรับการพัฒนาโปรแกรมการตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบ มาตรฐานเลขที่ มตช. 17035-2568 ดังมีรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงอุตสาหกรรม ประกาศใช้เมื่อ :05/06/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 13 (1) แห่งพระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. 2551 คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานด้านการตรวจสอบและรับรอง จึงออกประกาศกำหนดมาตรฐานการตรวจสอบ และรับรองแห่งชาติ การตรวจสอบและรับรอง การจัดการกับความเสี่ยงสำหรับเยาวชนและการเดินทางทัศนศึกษาของโรงเรียน มาตรฐานเลขที่ มตช. 31301-2568 ดังมีรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงอุตสาหกรรม ประกาศใช้เมื่อ :05/06/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 13 (1) แห่งพระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. 2551 คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานด้านการตรวจสอบและรับรอง จึงออกประกาศกำหนดมาตรฐานการตรวจสอบ และรับรองแห่งชาติ ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ข้อควรพิจารณาด้านความมั่นคงปลอดภัยตลอดวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ มาตรฐานเลขที่ มตช. 6114-2568 ดังมีรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงอุตสาหกรรม ประกาศใช้เมื่อ :05/06/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 13 (1) แห่งพระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. 2551 คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานด้านการตรวจสอบและรับรอง จึงออกประกาศกำหนดมาตรฐานการตรวจสอบ และรับรองแห่งชาติ ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ แนวทางสำหรับความมั่นคงปลอดภัยทางอินเทอร์เน็ต มาตรฐานเลขที่ มตช. 27032-2568 ดังมีรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงอุตสาหกรรม ประกาศใช้เมื่อ :05/06/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 13 (1) แห่งพระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. 2551 คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานด้านการตรวจสอบและรับรอง จึงออกประกาศกำหนดมาตรฐานการตรวจสอบ และรับรองแห่งชาติ ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ข้อแนะนำด้านความมั่นคงปลอดภัยสำหรับการสร้างการเชื่อมต่อที่เชื่อถือได้ระหว่างอุปกรณ์และบริการ มาตรฐานเลขที่ มตช. 27071-2568 ดังมีรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงอุตสาหกรรม ประกาศใช้เมื่อ :05/06/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 13 (1) แห่งพระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. 2551 คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานด้านการตรวจสอบและรับรอง จึงออกประกาศกำหนดมาตรฐานการตรวจสอบ และรับรองแห่งชาติ เทคโนโลยีสารสนเทศ - ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ - ภาพรวมและแนวคิด มาตรฐานเลขที่ มตช. 27100-2568 ดังมีรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงอุตสาหกรรม ประกาศใช้เมื่อ :06/06/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 13 (1) แห่งพระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. 2551 คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานด้านการตรวจสอบและรับรอง จึงออกประกาศกำหนดมาตรฐานการตรวจสอบ และรับรองแห่งชาติ เทคโนโลยีสารสนเทศ - เทคนิคความมั่นคงปลอดภัย - กรอบสถาปัตยกรรมด้านความเป็นส่วนตัว มาตรฐานเลขที่ มตช. 29101-2568 ดังมีรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงอุตสาหกรรม ประกาศใช้เมื่อ :05/06/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 13 (1) แห่งพระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. 2551 คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานด้านการตรวจสอบและรับรอง จึงออกประกาศกำหนดมาตรฐานการตรวจสอบ และรับรองแห่งชาติ เทคโนโลยีสารสนเทศ - เทคนิคความมั่นคงปลอดภัย - แนวทางการประเมินผลกระทบต่อความเป็นส่วนตัว มาตรฐานเลขที่ มตช. 29134-2568 ดังมีรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงอุตสาหกรรม ประกาศใช้เมื่อ :05/06/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 13 (1) แห่งพระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. 2551 คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานด้านการตรวจสอบและรับรอง จึงออกประกาศกำหนดมาตรฐานการตรวจสอบ และรับรองแห่งชาติ เทคโนโลยีสารสนเทศ การแจ้งประกาศความเป็นส่วนตัวออนไลน์และการขอความยินยอม มาตรฐานเลขที่ มตช. 29184--2568 ดังมีรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงอุตสาหกรรม ประกาศใช้เมื่อ :05/06/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 13 (1) แห่งพระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. 2551 คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานด้านการตรวจสอบและรับรอง จึงออกประกาศกำหนดมาตรฐานการตรวจสอบ และรับรองแห่งชาติ เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคนิคความมั่นคงปลอดภัย - แบบจำลองการประเมินความสามารถด้านความเป็นส่วนตัว มาตรฐานเลขที่ มตช. 29190--2568 ดังมีรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงอุตสาหกรรม ประกาศใช้เมื่อ :05/06/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 13 (1) แห่งพระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. 2551 คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานด้านการตรวจสอบและรับรอง จึงออกประกาศกำหนดมาตรฐานการตรวจสอบ และรับรองแห่งชาติ ความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์และการปกป้องความเป็นส่วนตัว - องค์ประกอบพื้นฐานของออนโทโลยีสำหรับการประเมินความมั่นคงปลอดภัยและความเสี่ยง มาตรฐานเลขที่ มตช. 24462-2568 ดังมีรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงอุตสาหกรรม ประกาศใช้เมื่อ :05/06/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 13 (1) แห่งพระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. 2551 คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานด้านการตรวจสอบและรับรอง จึงออกประกาศกำหนดมาตรฐานการตรวจสอบ และรับรองแห่งชาติ ความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์และการปกป้องความเป็นส่วนตัว - การปกป้องข้อมูลชีวมิติ มาตรฐานเลขที่ มตช. 24745-2568 ดังมีรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงอุตสาหกรรม ประกาศใช้เมื่อ :05/06/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 13 (1) แห่งพระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. 2551 คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานด้านการตรวจสอบและรับรอง จึงออกประกาศกำหนดมาตรฐานการตรวจสอบ และรับรองแห่งชาติ ความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์และการปกป้องความเป็นส่วนตัว - - ข้อกำหนดสำหรับหน่วยตรวจประเมินและให้การรับรองระบบการจัดการความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ - เล่ม 1 ทั่วไป มาตรฐานเลขที่ มตช. 27006 เล่ม 1-2568ดังมีรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงอุตสาหกรรม ประกาศใช้เมื่อ :05/06/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 13 (1) แห่งพระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. 2551 คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานด้านการตรวจสอบและรับรอง จึงออกประกาศกำหนดมาตรฐานการตรวจสอบ และรับรองแห่งชาติ ความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์และการปกป้องความเป็นส่วนตัว - การกำกับดูแลความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ มาตรฐานเลขที่ มตช. 27014-2568 ดังมีรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงอุตสาหกรรม ประกาศใช้เมื่อ :05/06/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 13 (1) แห่งพระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. 2551 คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานด้านการตรวจสอบและรับรอง จึงออกประกาศกำหนดมาตรฐานการตรวจสอบ และรับรองแห่งชาติ ความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์และการปกป้องความเป็นส่วนตัว - ข้อกำหนดด้านความมั่นคงปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวสำหรับการยืนยันตัวตนโดยใช้การตรวจสอบด้วยข้อมูลชีวมิติบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ - เล่ม 1 โหมดภายในอุปกรณ์ มาตรฐานเลขที่ มตช. 27553 เล่ม 1-2568ดังมีรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงอุตสาหกรรม ประกาศใช้เมื่อ :05/06/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 13 (1) แห่งพระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. 2551 คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานด้านการตรวจสอบและรับรอง จึงออกประกาศกำหนดมาตรฐานการตรวจสอบ และรับรองแห่งชาติ ความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์และการปกป้องความเป็นส่วนตัว - การประยุกต์ใช้ ISO 31000 สำหรับการประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับอัตลักษณ์ มาตรฐานเลขที่ มตช. 27554-2568 ดังมีรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงอุตสาหกรรม ประกาศใช้เมื่อ :05/06/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 13 (1) แห่งพระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. 2551 คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานด้านการตรวจสอบและรับรอง จึงออกประกาศกำหนดมาตรฐานการตรวจสอบ และรับรองแห่งชาติ ความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์และการปกป้องความเป็นส่วนตัว - แนวทางการพัฒนากรอบแนวคิดด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ มาตรฐานเลขที่ มตช. 27110-2568 ดังมีรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงอุตสาหกรรม ประกาศใช้เมื่อ :05/06/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 13 (1) แห่งพระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. 2551 คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานด้านการตรวจสอบและรับรอง จึงออกประกาศกำหนดมาตรฐานการตรวจสอบ และรับรองแห่งชาติ เทคโนโลยีความเป็นส่วนตัว - โครงสร้างข้อมูลของบันทึกความยินยอม มาตรฐานเลขที่ มตช. 27560-2568 ดังมีรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงอุตสาหกรรม ประกาศใช้เมื่อ :05/06/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 13 (1) แห่งพระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. 2551 คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานด้านการตรวจสอบและรับรอง จึงออกประกาศกำหนดมาตรฐานการตรวจสอบ และรับรองแห่งชาติ วัสดุอ้างอิง - เนื้อหาของใบรับรอง ฉลาก และเอกสารประกอบ มาตรฐานเลขที่ มตช. 33410-2568 ดังมีรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงอุตสาหกรรม ประกาศใช้เมื่อ :05/06/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 13 (1) แห่งพระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. 2551 คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานด้านการตรวจสอบและรับรอง จึงออกประกาศกำหนดมาตรฐานการตรวจสอบ และรับรองแห่งชาติ วัสดุอ้างอิง - ข้อกำหนดและข้อแนะนำสำหรับการใช้งาน มาตรฐานเลขที่ มตช. 33403-2568 ดังมีรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงอุตสาหกรรม ประกาศใช้เมื่อ :05/06/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 13 (1) แห่งพระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. 2551 คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานด้านการตรวจสอบและรับรอง จึงออกประกาศกำหนดมาตรฐานการตรวจสอบ และรับรองแห่งชาติ วัสดุอ้างอิง - แนวทางสำหรับการหาลักษณะและการประเมินความเป็นเนื้อเดียวกันและความเสถียร มาตรฐานเลขที่ มตช. 33405-2568 ดังมีรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงอุตสาหกรรม ประกาศใช้เมื่อ :05/06/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 13 (1) แห่งพระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. 2551 คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานด้านการตรวจสอบและรับรอง จึงออกประกาศกำหนดมาตรฐานการตรวจสอบ และรับรองแห่งชาติ แนวทางการผลิตวัสดุอ้างอิงที่มีคุณสมบัติเชิงคุณภาพ มาตรฐานเลขที่ มตช. 33406-2568 ดังมีรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงอุตสาหกรรม ประกาศใช้เมื่อ :05/06/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 13 (1) แห่งพระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. 2551 คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานด้านการตรวจสอบและรับรอง จึงออกประกาศกำหนดมาตรฐานการตรวจสอบ และรับรองแห่งชาติ ข้อแนะนำในการผลิตวัสดุอ้างอิงรับรองที่เป็นสารอินทรีย์บริสุทธิ์ มาตรฐานเลขที่ มตช. 33407-2568 ดังมีรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงอุตสาหกรรม ประกาศใช้เมื่อ :27/06/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 17 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 และมาตรา 58 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ /--ข้อ 1 กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป /--ข้อ 2 ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กกล้าทรงแบนรีดร้อนสำหรับงานโครงสร้างทั่วไป ต้องเป็นไปตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 1479 - 2566 ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนด มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กกล้าทรงแบนรีดร้อน สำหรับงานโครงสร้างทั่วไป พ.ศ. 2567 ลงวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2567 |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงอุตสาหกรรม ประกาศใช้เมื่อ :27/06/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 17 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 และมาตรา 58 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ /--ข้อ 1 กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป /--ข้อ 2 ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเตารีดไฟฟ้าต้องเป็นไปตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 20335 เล่ม 2 (3) - 2567 ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ความปลอดภัยของเครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นที่คล้ายกัน เล่ม 2 (3) ข้อกำหนดเฉพาะสำหรับเตารีดไฟฟ้า พ.ศ. 2567 ลงวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2567 |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงอุตสาหกรรม ประกาศใช้เมื่อ :27/06/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 17 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 และมาตรา 58 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ /--ข้อ 1 กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป /--ข้อ 2 ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมบันไดเลื่อนและทางเลื่อนอัตโนมัติ : ข้อกำหนดด้านความปลอดภัย ต้องเป็นไปตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 3778 เล่ม 1 - 2567 ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมบันไดเลื่อน และทางเลื่อนอัตโนมัติ ข้อกำหนด ด้านความปลอดภัย เล่ม 1 ข้อกำหนดสากลด้านความปลอดภัยที่จำเป็น (GESR) พ.ศ. 2567 ลงวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2567 |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงคมนาคม ประกาศใช้เมื่อ :12/06/2568
|
สาระสำคัญ |
ให้กำหนดเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางและการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ ในการขนส่งผู้โดยสาร โดยมิให้รถโดยสารมาตรฐาน 4 (รถโดยสารสองชั้น) เดินรถในเส้นทางที่มีความเสี่ยง ในขณะให้บริการขนส่งผู้โดยสาร นั้น/--โดยที่เส้นทางที่มีความเสี่ยงยังจำเป็นต้องมีรถโดยสารประจำทางให้บริการเพื่ออำนวยความสะดวก ให้กับประชาชน ดังนั้น เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนที่ใช้บริการรถโดยสารประจำทาง ในเส้นทางที่มีความเสี่ยง สมควรกำหนดให้รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารประจำทางที่มิใช่รถโดยสาร มาตรฐาน 4 (รถโดยสารสองชั้น) ที่ให้บริการเดินรถในเส้นทางที่มีความเสี่ยงเข้ารับการตรวจสภาพ ทั้งระบบเป็นกรณีพิเศษ โดยเน้นการตรวจประสิทธิภาพของระบบห้ามล้อ (Braking System) เพิ่มเติม /--อาศัยอำนาจตามความใน (2) ของกฎกระทรวงกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาตประกอบการขนส่ง พ.ศ. 2546 |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศใช้เมื่อ :23/05/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง และมาตรา 20 วรรคสองและวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 แก้ไขเพิ่มเติมความในข้อ 3 แห่งกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตเป็นผู้ผลิต ผู้ส่งออก หรือผู้นําเข้าสินค้าเกษตรตามมาตรฐานบังคับ พ.ศ. 2563 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ข้อ 3 ผู้ใดประสงค์จะขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ผลิต ผู้ส่งออก หรือผู้นําเข้าสินค้าเกษตร ที่มีกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานบังคับ ให้ยื่นคําขอรับใบอนุญาตต่อผู้อนุญาต พร้อมด้วยข้อมูล เอกสาร หรือหลักฐาน ดังต่อไปนี้-/-(1) การขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ผลิตสินค้าเกษตร ; (ก) ภาพถ่าย และแผนที่หรือพิกัดแสดงที่ตั้งสำนักงานและสถานที่ผลิต ; (ข) ข้อมูลกรรมวิธีการผลิตและการควบคุมตรวจสอบคุณภาพ ; (ค) ภาพถ่ายพร้อมคําบรรยายแสดงลักษณะของสินค้าเกษตร /--(2) การขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ส่งออกหรือผู้นําเข้าสินค้าเกษตร --(ก) ภาพถ่าย และแผนที่หรือพิกัดแสดงที่ตั้งสำนักงานและสถานที่เก็บ ; (ข) ข้อมูลวิธีการเก็บรักษา ; (ค) ภาพถ่ายพร้อมคําบรรยายแสดงลักษณะของสินค้าเกษตร /--ในกรณีที่ผู้ขอรับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่งเป็นบุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ให้ยื่นเลขที่ ใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว และหนังสือยินยอม ให้ผู้อนุญาตเข้าถึงข้อมูลนั้น มาพร้อมกับคําขอรับใบอนุญาตด้วย
|
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศใช้เมื่อ :10/06/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 20/2 วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 อธิบดีกรมประมงโดยความเห็น ของคณะกรรมการวัตถุอันตราย จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้/--หมวด 1 บททั่วไป (ข้อ 2-5 ) /หมวด 2 การพิจารณาใบแจ้งหรือคำขออนุญาต การออกใบนำผ่าน และเงื่อนไขการออกใบนำผ่าน (ข้อ 6 -8)/-- หมวด 3 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบนำผ่าน (ข้อ 9- 10)/--ข้อ 2 การยื่นใบแจ้งหรือการยื่นคำขออนุญาตนำผ่านวัตถุอันตราย การออกใบนำผ่าน การยื่นขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบนำผ่าน การให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงในใบนำผ่าน ให้กระทำโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเป็นหลัก ในกรณีที่ไม่สามารถกระทำโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ ให้ดำเนินการ ณ กองตรวจสอบเรือประมง สินค้าสัตว์น้ำ และปัจจัยการผลิต กรมประมง หรือดำเนินการ ณ สถานที่ หรือตามวิธีการอื่นใดที่อธิบดีกรมประมงกำหนด/--ข้อ 3 ผู้ใดประสงค์จะนำผ่านวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 หรือชนิดที่ 2 ให้แจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ทราบก่อน ตามแบบ วอ./กปม. 5 ท้ายประกาศนี้ พร้อมเอกสารตามที่ระบุในแบบดังกล่าว ผู้ใดประสงค์จะนำผ่านวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ให้ยื่นคำขออนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบ วอ. กปม. 3 ท้ายประกาศนี้ พร้อมเอกสารตามที่ระบุในแบบดังกล่าว/--ข้อ 4 ผู้ขอนำผ่านวัตถุอันตรายจะต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้--(1) เป็นนิติบุคคลซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทย โดยแสดงวัตถุประสงค์ว่าเป็นผู้ประกอบกิจการ นำเข้าและส่งออกวัตถุอันตราย ; (2) เป็นผู้ได้รับอนุมัติเป็นผู้ขอผ่านแดน หรือผู้ขนส่งผ่านแดน หรือผู้ขอถ่ายลําตามกฎหมาย ว่าด้วยศุลกากร /--ข้อ 5 ผู้ขอนำผ่านวัตถุอันตรายต้องจัดให้มีการทำหนังสือประกันสำหรับค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้น จากการทำลายหรือการจัดการวัตถุอันตรายตามมาตรา 52 มาตรา 52/2 และมาตรา 88 แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 ตามแบบ วอ./กปม. 5 ท้ายประกาศนี้ ต่อกรมประมง พร้อมวางหนังสือ ค้ําประกันของธนาคารวงเงินขั้นต่ำหนึ่งแสนบาท |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงอุตสาหกรรม ประกาศใช้เมื่อ :19/06/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคสอง มาตรา 23 วรรคสอง และมาตรา 27 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง พ.ศ. 2537 ออกตามความในพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2555) ออกตามความในพระราชบัญญัติ วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ดังต่อไปนี้ ข้อ 15 , ชื่อหมวด 5, ความในข้อ 22 ข้อ 23 และข้อ 24 เพื่อก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และวิธีการ เกี่ยวกับการยื่นคําขออนุญาตผลิต นําเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 การขอ และการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต รวมถึงการดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้อง .ให้เหมาะสมยิ่งขึ้นและสอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงอุตสาหกรรม ประกาศใช้เมื่อ :07/07/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคสอง และมาตรา 18 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม โดยความเห็นของคณะกรรมการ วัตถุอันตราย ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ /--ข้อ 1 ให้ยกเลิกรายชื่อวัตถุอันตรายในบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายแนบท้ายประกาศ กระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. 2556 ลงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556 ดังต่อไปนี้--1.1 บัญชี 1 ที่กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบ บัญชี 1.2 รายชื่อกลุ่มสารควบคุม ลำดับที่ 4 สารสกัดจากพืช เช่น สะเดา ข่า ตะไคร้หอม ฯลฯ เพื่อประโยชน์ในการป้องกัน กำจัดแมลงศัตรูพืช ; 1.2 บัญชี 4 ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยารับผิดชอบ บัญชี 4.1 รายชื่อสารควบคุม ลำดับที่ 49 น้ำมันตะไคร้หอม หรือซิโตรเนลลาออยล์ (Citronella oil) /--ข้อ 2 ให้ยกเลิกรายการเกี่ยวกับวัตถุอันตราย ในบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายแนบท้าย ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. 2556 ลงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556 ดังต่อไปนี้ โดยให้ใช้รายการตามบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายแนบท้ายประกาศฉบับนี้แทน ---/2.1 บัญชี 1 ที่กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบ --2.1.1 บัญชี 1.1 รายชื่อสารควบคุม ลำดับที่ 194 ไดโคฟอล (dicofol); 2.1.2 บัญชี 1.2 รายชื่อกลุ่มสารควบคุม ลำดับที่ 9 สารสำคัญ จุลชีพหรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารสำคัญ หรือจุลชีพ ที่ทำขึ้นเพื่อใช้ควบคุมการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งรวมถึงการกระตุ้น การยับยั้ง การชะลอการเจริญเติบโตของพืช เช่น การควบคุมการออกดอกติดผล เปลี่ยนสี ออกราก เป็นต้น ลำดับที่ 10 สารสำคัญ จุลชีพ หรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารสำคัญ หรือจุลชีพ ที่ทำขึ้นเพื่อใช้ในการป้องกัน กำจัด ทำลาย ควบคุมโรคพืช ลำดับที่ 11 สารสำคัญ จุลชีพ หรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารสำคัญ หรือจุลชีพ ที่ทำขึ้นเพื่อใช้ในการป้องกัน กำจัด ทำลาย ควบคุมโรคพืช ลำดับที่ 12 สารสำคัญ จุลชีพ หรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารสำคัญ หรือจุลชีพ ที่ทำขึ้นเพื่อป้องกัน กำจัด ทำลาย ควบคุมวัชพืช หรือพืชที่ไม่พึงประสงค์ /--2.2 บัญชี 4 ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยารับผิดชอบ (hydrogen peroxide)--2.2.1 บัญชี 4.1 รายชื่อสารควบคุม ลำดับที่ 223 ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ; --2.2.2 บัญชี 4.2 รายชื่อกลุ่มสารควบคุม ลำดับที่ 22 คลอรีน และสารที่ให้คลอรีน (Chlorine and chlorine releasing substances) /--2.3 บัญชี 5 ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ บัญชี 5.1 รายชื่อสารควบคุม ลำดับที่ 71 โกลด์ (1) ไซยาไนด์ [gold (1) cyanidel ลำดับที่ 72 โกลด์โซเดียมไซยาไนด์ (gold sodium cyanide) ลำดับที่ 73 โกลด์โพแทสเซียมไซยาไนด์ (gold potassium Cyanide) ลำดับที่ 85 คอปเปอร์ (1) ไซยาไนด์ (copper (1) cyanidel ลำดับที่ 88 คอปเปอร์ (II) ไซยาไนด์ [copper (II) cyanide] ลำดับที่ 45 แคดเมียมไซยาไนด์ (cadmium Cyanide) ลำดับที่ 122 ซิงค์ไซยาไนด์ (zinc cyanide) ลำดับที่ 147 โซเดียมไซยาไนด์ (sodium cyanide) ลำดับที่ 283 โพแทสเซียมไซยาไนด์ (potassium Cyanide) และลำดับที่ 289 โพรพิโอไนไตรล์ (propionitrile) หรือเอทิลไซยาไนด์ (ethyl cyanide) /--ข้อ 3 ให้เพิ่มเติมรายชื่อวัตถุอันตราย ในบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายแนบท้ายประกาศ กระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. 2556 ลงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556 สำหรับวัตถุอันตราย บัญชี 1 ที่กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบ บัญชี 1.1 รายชื่อสารควบคุม ลำดับที่ 687 เพนตะคลอโรเบนซีน (pentachlorobenzene) และลำดับที่ 688 เฮกซะคลอโรบิวทาไดอีน (hexachlorobutadiene) /--ข้อ 4 ให้ผู้ผลิต ผู้นําเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้มีไว้ในครอบครอง ซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ ตามประกาศฉบับนี้ที่ได้ดําเนินการอยู่ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ยื่นคําขออนุญาตภายในกำหนด สามสิบวันนับแต่วันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ และถ้าวัตถุอันตรายใดจะต้องขึ้นทะเบียนก็ให้ยื่นคําขอ ขึ้นทะเบียนภายในกำหนดเวลาดังกล่าวด้วย /--ให้ผู้ผลิต ผู้นําเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้มีไว้ในครอบครอง ซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ตามประกาศฉบับนี้ ที่ได้ดําเนินการอยู่ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ปฏิบัติตามคําสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ ภายในกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงการคลัง ประกาศใช้เมื่อ :18/06/2568
|
สาระสำคัญ |
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข สำหรับการตรวจหรือ ค้นของที่น่าเข้ามาเพื่อการผ่านแดน เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานศุลกากรในการตรวจหรือ ค้นของที่นําเข้ามาเพื่อการผ่านแดนเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เหมาะสมกับสถานการณ์ /-- อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 104 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 อธิบดีกรมศุลกากร ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ /--ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 27 แห่งประกาศกรมศุลกากรที่ 185/2564 เรื่อง พิธีการ ศุลกากรว่าด้วยการผ่านแดนทางอิเล็กทรอนิกส์ ลงวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2564 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ข้อ 27 พนักงานศุลกากรสามารถตรวจค้นของผ่านแดนได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น เมื่อมีเหตุ อันควรเชื่อได้ว่า --27.1 ของนั้นมีไว้เพื่อใช้ในการก่อการร้ายหรือเกี่ยวเนื่องกับการก่อการร้าย; 27.2 ชนิดแห่งของหรือการขนส่งหรือการขนถ่ายของดังกล่าว อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อ ความมั่นคง สันติภาพ และความปลอดภัยระหว่างประเทศ ; 27.3 มีการแสดงถิ่นกำเนิดเป็นเท็จ ; 27.4 เป็นของผิดกฎหมายที่เกี่ยวกับการผ่านแดน /ให้พนักงานศุลกากรดำเนินการตรวจค้นของผ่านแดนต่อหน้าผู้ขอผ่านแดน กรณีผู้ขอผ่านแดน ไม่มาปรากฏตัว ให้เก็บของผ่านแดนนั้นไว้ในอารักขา เมื่อพ้นกำหนด 30 วันนับแต่วันที่ของผ่านแดนนั้น เข้ามาในราชอาณาจักรให้ของผ่านแดนนั้นตกเป็นของแผ่นดินตามกฎหมาย /ในกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วน พนักงานศุลกากรจะตรวจค้นของผ่านแดนโดยดำเนินการต่อหน้า ผู้ที่เกี่ยวข้องกับของผ่านแดนนั้น หรือดำเนินการตรวจค้นโดยบันทึกภาพและเสียงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เริ่ม การตรวจค้นจนกว่าจะเสร็จสิ้นการตรวจค้น แทนการตรวจค้นต่อหน้าผู้ขอผ่านแดนก็ได้ |
|
|
|
|
กระทรวง : สำนักนายกรัฐมนตรี ประกาศใช้เมื่อ :30/05/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 30 และมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 คณะกรรมการว่าด้วยฉลาก จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้/--ข้อ 1 ในประกาศนี้--เหล็กกล้าทรงแบนเคลือบโลหะที่เคลือบสีและไม่เคลือบสี หมายความว่า เหล็กแผ่น ที่ผ่านกระบวนการรีดเย็นหรือรีดร้อน และนำมาเคลือบพื้นผิวด้วยโลหะ เช่น สังกะสี สังกะสีผสมอลูมิเนียม และสังกะสีผสมอลูมิเนียมและแมกนีเซียม โดยกรรมวิธีต่าง ๆ ซึ่งมีการเคลือบสีด้านเดียวหรือทั้งสองด้านหรือไม่เคลือบก็ได้/--ข้อ 2 ให้เหล็กกล้าทรงแบนเคลือบโลหะที่เคลือบสีและไม่เคลือบสีเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ข้อ 3 ฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลากตามข้อ 2 จะต้องระบุข้อความ รูป รอยประดิษฐ์ หรือภาพตามความเหมาะสม แล้วแต่กรณี แต่ข้อความนั้นจะต้องตรงต่อความเป็นจริง ไม่ก่อให้เกิด ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสาระสำคัญของสินค้านั้น และต้องเป็นภาษาไทยหรือภาษาไทยกำกับภาษาต่างประเทศ เพื่ออธิบายให้เข้าใจความหมายของรูป รอยประดิษฐ์หรือภาพ ที่สามารถเห็นและอ่านได้ชัดเจน ทั้งนี้ ให้เป็นไปตาม ข้อ 4 และข้อ 5 ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับฉลากของสินค้าที่ควบคุมฉลากที่ผลิตขึ้นเพื่อการส่งออกและไม่ขายในประเทศไทย |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงพาณิชย์ ประกาศใช้เมื่อ :23/06/2568
|
สาระสำคัญ |
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้ขยะอิเล็กทรอนิกส์ เป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนําเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2563 ลงวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เพื่อให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน/--อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 (1) และวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการส่งออกไปนอก และการนําเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์โดยอนุมัติ ของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้/--ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง ให้ขยะอิเล็กทรอนิกส์ เป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนําเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2568 /--ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป /--ข้อ 3 ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้ขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็นสินค้า ที่ต้องห้ามในการนําเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2563 ลงวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2563 /-- ข้อ 4 ในประกาศนี้--ขยะอิเล็กทรอนิกส์ หมายความว่า ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์หรือเศษ ที่ไม่รวมเศษจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า โดยมีส่วนประกอบ ซึ่งได้แก่ ตัวเก็บประจุไฟฟ้า และแบตเตอรี่อื่น ๆ สวิตช์ที่มีปรอทเป็นองค์ประกอบในการทำงาน เศษแก้วจากหลอดรังสีแคโทด และแอกติเวเต็ดกลาสอื่น ๆ ตัวเก็บประจุไฟฟ้าที่มีสารพีซีบี หรือที่ปนเปื้อนด้วยแคดเมียม ปรอท ตะกั่ว โพลิคลอริเนเต็ดไบฟีนิล ซึ่งเป็นของเสียเคมีวัตถุ ตามบัญชี 5.2 ลําดับที่ 2.18 ของประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. 2556 ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย/--ข้อ 5 ให้ขยะอิเล็กทรอนิกส์ตามพิกัดอัตราศุลกากรตอนที่ 84 และตอนที่ 85 เฉพาะรหัสสถิติ 899 ตามบัญชีท้ายประกาศนี้ เป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนําเข้ามาในราชอาณาจักร |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ประกาศใช้เมื่อ :20/06/2568
|
สาระสำคัญ |
ด้วยคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22 ได้มีการประชุมศึกษาและพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ อัตราค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับตามมาตรฐานฝีมือ และมีมติในคราวการประชุมครั้งที่ 2/2568 เมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2568 ให้กำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ รวม 13 สาขา โดยใช้ มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานเป็นเกณฑ์วัดค่า ทักษะฝีมือ ความรู้ ความสามารถ/--อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 79 (4) และมาตรา 88 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551 คณะกรรมการค่าจ้าง จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้/--ข้อ 1 ประกาศนี้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา/--ข้อ 2 ในประกาศนี้ 2 มาตรฐานฝีมือ หมายความว่า มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน /--ข้อ 3 อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือในแต่ละสาขาอาชีพและในแต่ละระดับ ให้เป็น ดังนี้ ฝขข(1) สาขาอาชีพท่องเที่ยว กีฬา และการจัดนิทรรศการ สาขาพนักงานขับรถโดยสารสาธารณะ เพื่อการท่องเที่ยว (รถทัวร์) ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละหกร้อยบาท/--(2) สาขาอาชีพธุรกิจบริการและพาณิชย์ สาขาช่างซ่อมบํารุงรถยนต์ไฟฟ้า ระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละหกร้อยบาท/--(3) สาขาอาชีพโลจิสติกส์และการขนส่ง สาขาผู้บังคับรถปั้นจั่นตีนตะขาบ ระดับ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละหกร้อยยี่สิบบาท /--(4) สาขาอาชีพโลจิสติกส์และการขนส่ง สาขาผู้บังคับรถปั้นจั่นล้อยาง ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละหกร้อยยี่สิบบาท /--(5) สาขาอาชีพโลจิสติกส์และการขนส่ง สาขาผู้บังคับปั้นจั่นติดรถบรรทุก ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยหกสิบบาท /--(6) สาขาอาชีพโลจิสติกส์และการขนส่ง สาขาพนักงานขับรถบรรทุก ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยแปดสิบห้าบาท /--(7) สาขาอาชีพไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สาขาช่างเทคนิคเครื่องปรับอากาศสำหรับห้องสะอาด ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละเจ็ดร้อยยี่สิบบาท และระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละแปดร้อยบาท /-- (8) สาขาอาชีพไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สาขาช่างอิเล็กทรอนิกส์ ระดับ 1 เป็นเงิน ไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยบาท /--(9) สาขาอาชีพไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สาขาช่างไฟฟ้าสำหรับอุตสาหกรรม การจัดงานประชุม การเดินทาง เพื่อเป็นรางวัล และการแสดงสินค้า (MICE : Meetings Incentives Conventions Exhibitions) ระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละหกร้อยบาท /--(10) สาขาอาชีพเทคโนโลยีดิจิทัล สาขานักเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (ภาษาซี) ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละเจ็ดร้อยบาท /--(11) สาขาอาชีพเทคโนโลยีดิจิทัล สาขานักดูแลและบริหารระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละเจ็ดร้อยเจ็ดสิบบาท /--(12) สาขาอาชีพระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ สาขาช่างควบคุมหุ่นยนต์อุตสาหกรรม ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละหกร้อยห้าบาท /--(13) สาขาอาชีพการพัฒนาบุคลากร สาขาผู้ฝึกสอนมวยไทย ระดับ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยหกสิบห้าบาท /--ข้อ 4 เพื่อประโยชน์ตามข้อ 3 (1) ถึง (13) คําว่า วัน หมายถึง เวลาทำงานปกติ ของลูกจ้าง/--ข้อ 5 นายจ้างที่ให้ลูกจ้างทำงานในตำแหน่งงานหรือลักษณะงานที่ต้องใช้ทักษะฝีมือความรู้ความสามารถตามมาตรฐานฝีมือในสาขาอาชีพและระดับใด ไม่ว่าจะครอบคลุมมาตรฐานฝีมือนั้นทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดก็ตาม ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ ในสาขาอาชีพและระดับนั้น /--ข้อ 6 ภายใต้บังคับข้อ 5 ลูกจ้างที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือในสาขาอาชีพและระดับใด ไม่ว่าก่อนหรือหลังประกาศนี้มีผลใช้บังคับ หากประสงค์จะใช้สิทธิให้ยื่นหนังสือรับรองว่าเป็นผู้ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือในสาขาอาชีพและระดับนั้นแก่นายจ้างโดยเร็ว /--เมื่อนายจ้างได้รับ รับหนังสือรับรองตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้จ่ายค่าจ้างตามอัตราในประกาศนี้ ให้แก่ลูกจ้างนับแต่วันที่ได้หนังสือรับรองเป็นต้นไป |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ประกาศใช้เมื่อ :01/07/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 79 (3) มาตรา 88 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551 และมาตรา 87 วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 คณะกรรมการค่าจ้าง จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ /--ข้อ 1 ให้ยกเลิก --(1) ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำประเภทกิจการโรงแรม ลงวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2567 ; (2) ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 13) ลงวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2567 /--ข้อ 2 ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละสี่ร้อยบาท ดังนี้ --(1) ประเภทกิจการโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม เฉพาะโรงแรมประเภท 2 โรงแรม และโรงแรมประเภท 4 ในท้องที่ทุกจังหวัด ; (2) ประเภทกิจการสถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ ในท้องที่ทุกจังหวัด ; (3) ในท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ภูเก็ต ระยอง และสุราษฎร์ธานี เฉพาะอำเภอเกาะสมุย /--ข้อ 3 ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละสามร้อยแปดสิบบาท ในท้องที่จังหวัด เชียงใหม่เฉพาะอำเภอเมืองเชียงใหม่ และสงขลาเฉพาะอำเภอหาดใหญ่ /--ข้อ 4 ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละสามร้อยเจ็ดสิบสองบาท ในท้องที่จังหวัด นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร /--ข้อ 5 ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละสามร้อยห้าสิบเก้าบาท ในท้องที่จังหวัด นครราชสีมา /--ข้อ 6 ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละสามร้อยห้าสิบแปดบาท ในท้องที่จังหวัด สมุทรสงคราม /--ข้อ 7 ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละสามร้อยห้าสิบเจ็ดบาท ในท้องที่จังหวัด ขอนแก่น เชียงใหม่ ยกเว้นอำเภอเมืองเชียงใหม่ ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา และสระบุรี /--ข้อ 8 ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละสามร้อยห้าสิบหกบาท ในท้องที่จังหวัดลพบุรี /--ข้อ 9 ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละสามร้อยห้าสิบห้าบาท ในท้องที่จังหวัด นครนายก สุพรรณบุรี และหนองคาย /--ข้อ 10 ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละสามร้อยห้าสิบสี่บาท ในท้องที่จังหวัดกระบี่และตราด /--ข้อ 11 ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละสามร้อยห้าสิบสองบาท ในท้องที่จังหวัด กาญจนบุรี จันทบุรี เชียงราย ตาก นครพนม บุรีรัมย์ ประจวบคีรีขันธ์ พังงา พิษณุโลก มุกดาหาร สกลนคร สงขลายกเว้นอำเภอหาดใหญ่ สระแก้ว สุราษฎร์ธานียกเว้นอำเภอเกาะสมุย และอุบลราชธานี /-- ข้อ 12 ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละสามร้อยห้าสิบเอ็ดบาท ในท้องที่จังหวัด ชุมพร เพชรบุรี และสุรินทร์ /--ข้อ 13 ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละสามร้อยห้าสิบบาท ในท้องที่จังหวัด นครสวรรค์ ยโสธร และลำพูน /--ข้อ 14 ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละสามร้อยสี่สิบเก้าบาท ในท้องที่จังหวัด กาฬสินธุ์ นครศรีธรรมราช บึงกาฬ เพชรบูรณ์ และร้อยเอ็ด /--ข้อ 15 ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละสามร้อยสี่สิบแปดบาท ในท้องที่จังหวัด ชัยนาท ชัยภูมิ พัทลุง สิงห์บุรี และอ่างทอง /--ข้อ 16 ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละสามร้อยสี่สิบเจ็ดบาท ในท้องที่จังหวัด กำแพงเพชร พิจิตร มหาสารคาม แม่ฮ่องสอน ระนอง ราชบุรี ลำปาง เลย ศรีสะเกษ สตูล สุโขทัย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานี อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี /--ข้อ 17 ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละสามร้อยสี่สิบห้าบาท ในท้องที่จังหวัดตรัง น่าน พะเยา และแพร่ /--ข้อ 18 ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเงินวันละสามร้อยสามสิบเจ็ดบาท ในท้องที่จังหวัด นราธิวาส ปัตตานี และยะลา /--ข้อ 19 เพื่อประโยชน์ตามข้อ 2 ถึงข้อ 18 คําว่า วัน หมายถึง เวลาทำงานปกติของลูกจ้าง ซึ่งไม่เกินชั่วโมงทำงานดังต่อไปนี้ แม้นายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานน้อยกว่าเวลาทำงานปกติเพียงใดก็ตาม --(1) เจ็ดชั่วโมง สำหรับงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้าง ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ; (2) แปดชั่วโมง สำหรับงานอื่นซึ่งไม่ใช่งานตาม (1) /--ข้อ 20 ห้ามมิให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างเป็นเงินแก่ลูกจ้างน้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ข้อ /--21 ประกาศคณะกรรมการค่าจ้างฉบับนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2568 เป็นต้นไป |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงอุตสาหกรรม ประกาศใช้เมื่อ :22/05/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยความตามข้อ 9 (2) และข้อ 12 แห่งประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การควบคุม การใช้หอเผาทิ้ง พ.ศ. 2565 กรมโรงงานอุตสาหกรรม โดยอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ออกประกาศกำหนดแนวทางการสังเกตควันดำจากหอเผาทิ้งด้วยสายตา หรือจากภาพเคลื่อนไหวที่ถูกบันทึกด้วยอุปกรณ์บันทึกภาพ หรือจากภาพที่ถูกส่งทางไกลอย่างต่อเนื่องจาก อุปกรณ์บันทึกภาพในทันทีหรือภายหลัง และการประเมินอัตราการไหลของมวลก๊าซที่ระบายออกไปสู่หอเผาทิ้ง |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงอุตสาหกรรม ประกาศใช้เมื่อ :27/05/2568
|
สาระสำคัญ |
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการในการควบคุมการใช้หอเผาทิ้งในการประกอบกิจการโรงงานซึ่งเกี่ยวข้องกับการก่อให้เกิดอากาศเสียให้ชัดเจนยิ่งขึ้น/--อาศัยอำนาจตามความในข้อ 16 จัตวา ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 26 (พ.ศ. 2563) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และข้อ 7 ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 27 (พ.ศ. 2563) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้/--ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 4 ของประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การควบคุม การใช้หอเผาทิ้ง พ.ศ. 2565 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน/--ข้อ 4 โรงงานตามข้อ 3 ต้องดําเนินการ ต่อไปนี้--(1) ควบคุมการทำงานของหอเผาทิ้ง ไม่ให้เกิดควันดําจากหอเผาทิ้งที่สามารถสังเกตเห็นได้ ด้วยตาเปล่า รวมกันเกินกว่าสิบนาทีในช่วงสองร้อยสี่สิบนาทีใด ๆ ไม่ว่าควันดําจะเกิดต่อเนื่อง หรือไม่ต่อเนื่องก็ตาม/ (2) รายงานบันทึกการใช้หอเผาทิ้งเป็นรายเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป การรายงานให้ดําเนินการโดยแบบและวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบการรายงานข้อมูลกลางของกระทรวงอุตสาหกรรม / (3) กรณีมีควันดําจากหอเผาทิ้งระยะเวลารวมเกินกว่าที่กำหนดตาม (1) ให้รายงาน รายละเอียดของการใช้หอเผาทิ้ง ระยะเวลา รายงานผลการสืบสวนสาเหตุ และมาตรการป้องกัน หรือลดการเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวในอนาคตเป็นลายลักษณ์อักษรต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรมทุกครั้งที่มีควันดําจากหอเผาทิ้งระยะเวลารวมเกินกว่าที่กำหนด ภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันเกิดเหตุ/--ข้อ 2 ให้ถือว่าการรายงานตามข้อ 8 ของประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การควบคุม การใช้หอเผาทิ้ง พ.ศ. 2565 ที่ได้กระทำก่อนประกาศนี้ใช้บังคับเป็นการรายงานตามข้อ 8 ของประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การควบคุมการใช้หอเผาทิ้ง พ.ศ. 2565 ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศนี้ |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงสาธารณสุข ประกาศใช้เมื่อ :23/06/2568
|
สาระสำคัญ |
ตามที่องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานการตรวจพบสารเอทิลีนไกลคอล (Ethylene glycol) และไดเอทิลีนไกลคอล (Diethylene glycol) ปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ยาน้ําแก้ไอ เนื่องจากผลิตภัณฑ์ ดังกล่าวมีส่วนประกอบของซอร์บิทอล (Sorbitol) ที่มีการปนเปื้อนเอทิลีนไกลคอล (Ethylene glycol) เกินค่ามาตรฐาน จากการพิจารณาข้อมูลเชิงวิชาการพบว่าวัตถุเจือปนอาหารบางรายการมีโอกาสปนเปื้อน เอทิลีนไกลคอล (Ethylene glycol) และไดเอทิลีนไกลคอล (Diethylene glycol) จากกระบวนการผลิต ดังนั้นเพื่อเป็นการคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภค /--อาศัยอำนาจตามความในข้อ 4 (2) แห่งประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 281) พ.ศ. 2547 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร ลงวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจ ตามความในมาตรา 5 และมาตรา 6 (1) (2) (4) (5) (6) (7) (4) และ (10) แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการอาหาร ในการประชุมครั้งที่ 7-1/2568 เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2568 ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ /--ข้อ 1 วัตถุเจือปนอาหาร นอกจากต้องมีคุณภาพหรือมาตรฐานตามที่กำหนดไว้ใน Codex Advisory Specification for the Identity and Purity of Food Additives แล้วยังต้องปฏิบัติ ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาฉบับนี้ด้วย โดยกำหนดปริมาณการปนเปื้อน เอทิลีนไกลคอล (Ethylene glycol) และไดเอทิลีนไกลคอล (Diethylene glycol) เพิ่มเติมในข้อกำหนด คุณภาพหรือมาตรฐานของวัตถุเจือปนอาหารจำนวน 12 รายการที่มีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อน |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงสาธารณสุข ประกาศใช้เมื่อ :07/07/2568
|
สาระสำคัญ |
ปรับปรุงประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยอาหารที่มีสารพิษตกค้างให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น/--อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง มาตรา 6 (2) (3) (4) และ (4) แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้/--ข้อ 1 ให้ยกเลิก--(1) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 387 พ.ศ. 2560 เรื่อง อาหารที่มีสารพิษตกค้าง ลงวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2560 ; (2) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 393 (พ.ศ. 2561) ออกตามความใน พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง อาหารที่มีสารพิษตกค้าง (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2561 ; (3) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 414) พ.ศ. 2563 ออกตามความใน พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง อาหารที่มีสารพิษตกค้าง (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2563 ; (4) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 444) พ.ศ. 2567 ออกตามความใน พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง อาหารที่มีสารพิษตกค้าง (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 /--ข้อ 2 ให้อาหารที่มีสารพิษตกค้าง เป็นอาหารที่กำหนดมาตรฐาน |
|
|
|
|
กระทรวง : สํานักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ประกาศใช้เมื่อ :30/06/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 20 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 ออกประกาศให้ผู้ขอรับสิทธิประโยชน์ตามพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 จัดทำข้อเสนอการลงทุนตามรูปแบบและรายละเอียดท้ายประกาศนี้ |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกาศใช้เมื่อ :21/05/2568
|
สาระสำคัญ |
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 45 วรรคหนึ่งและวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติและโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ /--ข้อ ให้ยกเลิก 1 (1) ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และ มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณท้องที่ตำบลตลิ่งงาม ตำบลบ่อผุด ตำบลมะเร็ต ตำบลแม่น้ำ ตำบลหน้าเมือง ตำบลอ่างทอง ตำบลลิปะน้อย อำเภอเกาะสมุย และตำบลเกาะพะงัน ตำบลบ้านใต้ ตำบลเกาะเต่า อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. 2557 ลงวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 (2) ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ขยายระยะเวลาการใช้บังคับ ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครอง สิ่งแวดล้อม ในบริเวณท้องที่ตำบลตลิ่งงาม ตำบลบ่อผุด ตำบลมะเร็ต ตำบลแม่น้ำ ตำบลหน้าเมือง ตำบลอ่างทอง ตำบลลิปะน้อย อำเภอเกาะสมุย และตำบลเกาะพะงัน ตำบลบ้านใต้ ตำบลเกาะเต่า อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. 2557 พ.ศ. 2566 ลงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2566 /--ข้อ -3 ให้พื้นที่ที่ได้มีการกำหนดให้เป็นเขตอนุรักษ์และเขตควบคุมอาคารของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ดังต่อไปนี้ เป็นเขตพื้นที่ที่ให้ใช้มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ |
|
|
|
|
กระทรวง : กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกาศใช้เมื่อ :23/06/2568
|
สาระสำคัญ |
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการจัดทำและจัดส่งรายงานผลกระทบ สิ่งแวดล้อมเบื้องต้น และรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำหรับโครงการ กิจการ หรือ การดำเนินการ ซึ่งต้องจัดทำตามมาตรการข้อ 14 ของประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณพื้นที่อำเภอบ้านแหลม อำเภอเมืองเพชรบุรี อำเภอท่ายาง อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี และอำเภอหัวหิน อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. 2568/--อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 48 วรรคหนึ่งและวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้/--ข้อ 1 ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางในการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น และรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ในเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณพื้นที่ อำเภอบ้านแหลม อำเภอเมืองเพชรบุรี อำเภอท่ายาง อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี และอำเภอหัวหิน อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. 2561 ลงวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2561/--ข้อ 2 ประเภทและขนาดของโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการ ซึ่งต้องจัดทำรายงาน ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น และรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และขั้นตอนการเสนอ รายงานให้เป็นไปตามเอกสารท้ายประกาศ/--ข้อ 3 แนวทางการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น และรายงานการประเมิน ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการ ซึ่งต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบ สิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566 ลงวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2566 และให้เป็นไปตามแนวทางเฉพาะสำหรับโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการตามที่สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมประกาศกำหนด |
|
|
|